วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สัมมนาทางวิชาการ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อรับมือปัญหาภัยพิบัติธรรมชาติ MIKE CUSTOMISED Real Time จัดขึ้นที่ภูเก็ต

ด้วยศูนย์วิจัยทางภัยพิบัติธรรมชาติ ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีความน่าเชื่อถือสูงสุดในภาคใต้ ดำเนินการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิเกี่ยวกับพิบัติภัย น้ำท่วม และ ดินถล่มของภาคใต้อย่างต่อเนื่อง และนำมาวิเคราะห์ ประเมิน และพัฒนาแบบจำลอง เพื่อช่วยในการบริหาร จัดการ คาดการณ์ และแก้ปัญหาทางด้านพิบัติภัย ได้ร่วมกับ DHI สถาบันที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาแบบจำลองคณิตศาสตร์ด้านน้ำและสิ่งแวดล้อม ประเทศเดนมาร์ก กำหนดจัดสัมมนาวิชาการ  “ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อรับมือปัญหาภัยพิบัติธรรมชาติ MIKE CUSTOMISED Real Time ระดับผู้บริหาร” ในวันพุธที่ 22 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 – 12:00 น. ณ โรงแรม เอาท์ทริกเกอร์ ลากูน่า ภูเก็ตบีช รีสอร์ท โดยเรียนเชิญผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวนประมาณ 30 ท่าน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ด้านการรับมือภัยพิบัติธรรมชาติจากน้ำด้วยเทคโนโลยีทันสมัยที่ใช้ในระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบ Real time พร้อมกับการพัฒนาแบบจำลองน้ำ ทั้งด้านการจัดการทรัพยากรน้ำ น้ำทะเล น้ำในชุมชนเมือง เป็นต้น ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมสัมมนา เพื่อการวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ และหาแนวทางป้องกันภัยพิบัติที่เกิดจากน้ำ

กล่าวเปิดงานโดย
รองศาสตราจารย์ ดร.ธนิต เฉลิมยานนท์ หัวหน้าศูนย์วิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติ และหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
พร้อมทั้งบรรยายในหัวข้อ น้ำท่วมหาดใหญ่ อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต
สามารถโหลดเอกสารการบรรยายได้ที่


แบบจำลองทางวิศวกรรมทะเลและชายฝั่ง
บรรยายโดย Mr. Poul Kronborg, Business Area Manager, Marine Software
สามารถโหลดเอกสารการบรรยายได้ที่


แบบจำลองทางวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ
บรรยายโดย Mr. Torben Strange Jensen, Business Area Manager, Water Resources Software
สามารถโหลดเอกสารการบรรยายได้ที่

แบบจำลองทางวิศวกรรมน้ำในเขตเมือง
บรรยายโดย Mr. Marcus Richter, Business Area Manager, Urban Water
สามารถโหลดเอกสารการบรรยายได้ที่

ระบบช่วยตัดสินใจ
บรรยายโดย Mr. Henrik Refstrup Sørensen, Group Solution Software Business Manager
สามารถโหลดเอกสารการบรรยายได้ที่

โครงการพยากรณ์ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำชีมูลพร้อมระบบช่วยตัดสินใจ
บรรยายโดย ดร. สมชาย ชนวัฒนา
สามารถโหลดเอกสารการบรรยายได้ที่

หลังจากงานสัมมนา ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ถ่ายรูปหมู่ร่วมกัน

และภาพบางส่วนจากในห้องสัมมนา และการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทางวิชาการกันหลังงานสัมมนา





ทางคณะผู้จัดงาน ขอขอบพระคุณผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านมา ณ โอกาสนี้






วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

DHI (Network) License Administration and ArcGIS Related License

บทความนี้จะกล่าวถึง DHI License Administration และ DHI Network License Administration
รวมถึงกรณีที่ใช้แบบจำลอง MIKE ที่ได้รับ License ของ ArcGIS ด้วย 
(เรื่อง ArcGIS License ให้เลื่อนลงไปดูที่ DHI License Administration)

รายละเอียดที่แนะนำในบทความนี้ สำหรับใช้กับ MIKE Version 2016 ลงไป

เนื่องจาก MIKE Version 2017 - 2021 มีการปรับปรุงระบบ license
ทำให้ license file จะเปลี่ยนมาใช้ไฟล์ที่มีนามสกุล dhilic แทนที่ dat

ส่วน MIKE Version 2022 เป็นต้นไป มีการปรับปรุง license file ให้เป็นนามสกุล dhilic2

กรณีการลงโปรแกรมจัดการ license สำหรับเวอร์ชั่น 2017 เป็นต้นไป 
จะมีการแนบเอกสารวิธีการติดตั้งโปรแกรมและการจัดการ license ไว้ด้วยอยู่แล้ว
จึงไม่ได้นำเสนอไว้ในบทความนี้

อย่างไรก็ตาม หากติดปัญหาการลงโปรแกรม การจัดการ license แนะนำให้
ตรวจสอบช่องทางการจัดการปัญหาต่างๆที่หน้าเวบเพจหลักที่

หรือหากยังแก้ปัญหาไม่ได้ให้ติดต่อ บ. DHI
เพื่อประสานขอความช่วยเหลือในการแก้ปัญหาต่อไป 
โดยสามารถส่ง Email ขอความช่วยเหลือไปที่ mike@dhigroup.com


เนื่องจากการปรับปรุงระบบ License ของ DHI ในช่วงต้นปี 2013
มีผลทำให้ License ที่เคยซื้อเป็น Commercial Single License
หรือที่เป็นการซื้อเพื่อใช้ในคอมพ์เครื่องเดียว จะได้รับการอัพเกรดให้เป็น Network License


ประโยชน์เพิ่มเติมของระบบ Network License เทียบกับ Single License คือ ทำให้มีความยืดหยุ่น
ในการแบ่งปันการใช้งาน License ให้สามารถใช้ได้หลายคน หลายคอมพ์พิวเตอร์ โดยไม่ต้องมีการย้าย
License Dongle และหากมีการตั้ง Server ที่สามารถมองเห็นได้จากระบบ Internet
ก็จะทำให้สามารถใช้ License จากที่บ้านได้แม้ว่า Dongle จะไม่ได้อยู่กับตัว

ต่อไปนี้นี้จะแนะนำวิธีการลงโปรแกรมต่างๆ เพื่อให้สามารถใช้งานได้แบบ Network License




ในการติดตั้ง Network License บนเครื่องที่จะใช้เป็น License Server 
(License Server สามารถใช้งานเป็นเครื่อง run model ได้ด้วยเช่นกัน) 
ต้องมีการลงโปรแกรมเพิ่มหนึ่งตัวคือ โปรแกรม DHI Network License Manager 
ซึ่งจะมีตัวติดตั้งโปรแกรมมาพร้อมกับ DVD ของ DHI อยู่แล้ว
สามารถเลือกลงเพิ่มได้เลย ยังคงแนะนำให้ลงโดยคลิกขวาแล้วเลือก Run as administrator

โปรแกรม DHI Network License Manager นั้นสามารถลงไว้บนเครื่อง Computer ได้สองแบบ
1) คือเครื่องที่จะไว้ลงแบบจำลองและทำการรันแบบจำลอง
2) เครื่องที่จะไว้ใช้เป็น Server เท่านั้น

หลังจากลงโปรแกรม DHI Network License Manager แล้ว
ต้องมีการจัดการอนุญาติโปรแกรม DHI Network License Administration ใน Windows Firewall
เปิด Windows Firewall (ผมมีแต่ตัวอย่างกรณี Windows7 Ent 64bit นะครับ)
Start/Control Panel/Windows Firewall
ด้านซ้ายมือคลิกที่ Allow a program or feature through Windows Firewall
เลื่อนหา DHI Network License Administration แล้วทำเครื่องหมายถูกในช่อง Network ที่ต้องการ
(การเลือก Network ที่จะให้ใช้งานได้ ขึ้นกับระบบ Network ในแต่ละที่)
หากเลื่อนหาแล้วหาไม่เจอ จะต้องทำการเพิ่มเองโดยคลิกที่ปุ่ม Allow another program... ด้านล่าง
หากปุ่มไม่ active ให้คลิกที่ปุ่ม Change settings ก่อน
Browse หาโปรแกรม C:\Program Files (x86)\DHI\XXXX\bin\LicSvcNetUI.exe 
(XXXX คือเลขปีของเวอร์ชั่นที่ติดตั้งเช่น 2012 หรือ 2014 เป็นต้น)

จากนั้นให้คลิกย้อนกลับไปที่หน้า Windows Firewall
ที่แถบด้านซ้ายล่างให้คลิกที่ Advance Settings
จากนั้นในหน้าต่างใหม่ที่แถบเครื่องมือด้านซ้ายคลิกที่ Inbound Rules
ที่แถบเครื่องมือด้านขวาคลิกที่ New Rule...
ใน Rule Type ให้เลือก Port แล้ว Next
จากนั้นให้เลือกเป็น TCP และ Specific local ports : กรอก 8888 ลงไป
หรือหากเลือก All local ports ก็ไม่ต้องกรอกอะไรเพิ่ม
คลิก Next แล้วเลือก Allow the connection แล้วคลิก Next
เลือกวง Network ที่ต้องการ (หากไม่รู้ให้เลือกทั้งหมด) แล้วคลิก Next
ตั้งชื่อเช่น Allow port 8888 หรือ Allow all ports แล้วคลิก Finish
เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วจะพบ Inbound Rules ตัวใหม่ที่เราเพิ่งทำเสร็จขึ้นมา

นอกจากนี้แล้วใน Inbound Rules ยังต้องตรวจสอบด้วยว่าได้มีการ Enable
File and Printer Sharing (Echo Request) ไว้แล้วหรือยัง หากยังให้ Enable ด้วย
(จะพบว่าหากเป็น Server ที่ไม่มีการแชร์ไฟล์ หรือใช้ Printer มักจะ Disable ไว้)

เป็นอันเสร็จขั้นตอนทั้งหมดในการตั้งค่าให้ Windows Firewall ยอมให้โปรแกรม DHI Network License ใช้งานได้

ทดสอบผลการติดตั้ง ให้เปิด

โปรแกรม DHI Network License Administration



ติดตั้ง USB Dongle เข้ากับ Computer แล้วคลิก Install License file…
แล้วเลือกไฟล์ DHILicense.dat ซึ่งเป็น License ที่ตรงกับ Dongle
เมื่อลง License เรียบร้อยแล้วให้ Start Service เพื่อให้ Server เริ่มทำงาน

สำหรับคอมพ์ที่จะใช้งานแบบจำลอง โดยใช้ License ผ่านระบบ Network หรือ Local
จะต้องมีการลงทะเบียน และตั้งค่า License ผ่านโปรแกรม DHI License Administration


โปรแกม DHI License Administration


สำหรับการใช้งาน DHI License ผ่าน Network
จะต้องตั้งค่าให้ License ชี้ไปที่ Server โดยเลือก Network Mode และคลิกที่ Connect...


ในหน้า License Mode Control เลือก Network Mode แล้วคลิก Connect…
จากนั้นกรอก IP ของ Server หรือจะเป็นชื่อของ Server หรือ
หาก License Manager อยู่บนคอมพ์เครื่องเดียวกับแบบจำลอง ให้กรอก localhost
สำหรับ Port ให้ใช้ค่าเดิม เมื่อกรอกแล้วให้คลิก Test หากสำเร็จจะมีข้อความว่า



สำหรับการใช้งาน DHI License แบบ Local
จะต้องตั้งค่า License โดยเลือก Local Mode และคลิกที่ Install License File...
ทั้งนี้ก่อนจะคลิก Install License File ได้จะต้องไปปิด License Service ที่หน้า Start/Stop License Service ก่อน
แล้วเลือกไฟล์ DHILicense.dat หรือ DHILicense.txt ที่ได้รับมาจาก DHI

สำหรับผู้ที่จะขอ License สำหรับทดสอบการใช้งาน 
ให้ติดต่อกับทาง DHI เพื่อขอ License สำหรับการทดสอบใช้งานแบบจำลอง
โดยทั่วไปเมื่อได้รับการอนุมัติจาก DHI แล้วทาง DHI จะจัดทำ License สำหรับทดสอบใช้งาน
แบบจำลองที่ร้องขอมาโดยให้ทดสอบใช้งานได้ประมาณ 1 เดือน หรือแล้วแต่กรณี

ช่องทางติดต่อ DHI สำหรับการขอ License สำหรับทดสอบใช้งานแบบจำลอง
ติดต่อได้ที่ผู้จัดการศูนย์ DHI ประจำประเทศไทย คุณ วราภรณ์ บูรณะอัตม์
อีเมลรายละเอียดการขอใช้งานมาที่ may@dhigroup.com
และโทรสอบถามรายละเอียดได้ที่ 02 5245564 หรือ 081 6486334

ในการสร้างไฟล์ Finger Print ให้ไปที่หน้า License Mode Control
ของโปรแกรม DHI License Administration แล้วคลิกปุ่ม Generate Finger Print...
โปรแกรมจะทำการสร้างไฟล์ชื่อ "dhiswd.dat" ให้ส่งไฟล์นี้กลับมาทาง DHI
เมื่อ DHI จัดเตรียม License แล้วส่งกลับมาให้ลูกค้าแล้ว ก็สามารถนำ License file ที่ได้มา
มาติดตั้งได้เช่นเดียวกับ DHI License แบบ Local ดังกล่าวข้างบน


สำหรับการลงทะเบียน ArcGIS License ที่ได้มาจาก DHI ในกรณีที่เป็น Single Type
จะต้องลงทะเบียนผ่านโปรแกรม DHI License Administrator เท่านั้น



คลิกที่ปุ่ม Authorize... ในหน้า License Mode Control
จากนั้นเลือกไฟล์ที่มีนามสกุล ESLF ที่ได้รับมาจาก DHI


ถือว่าติดตั้งเรียบร้อย สามารถใช้งานแบบจำลองพร้อม License ได้แล้ว

ปัญหาอื่นๆที่มักจะพบว่าทำให้ใช้งาน Network License ไม่ได้คือ
เครื่อง Server มีการตั้งค่า Security ไว้สูงมาก จนเครื่องคอมพ์อื่นๆไม่สามารถมองเห็นได้เลย
หรือ Network เสีย ดังนั้นเบื้องต้นให้ตรวจสอบระบบ Network เสียก่อน

สำหรับการลงทะเบียน ArcGIS License ที่ได้มาจาก DHI ในกรณีที่เป็น Network Type
มีทางเลือกในการลงทะเบียน ArcGIS License 3 ทางเลือกดังรูป


 Option 1 เป็นการใช้งานโดยมี Server เป็นตัวจัดการ License ของ MIKEbyDHI และ ArcGIS แล้วมี Client PC เป็นเครื่องที่ใช้งานโปรแกรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น MIKEbyDHI หรือ ArcGIS

Option 2 เป็นการใช้งานโดยไม่มี Server แต่ติดตั้งทั้งหมดในเครื่องที่ใช้รันโปรแกรมในตัวเอง

Option 3 เป็นการใช้งานโดยมี Server เป็นตัวจัดการ License ของ ArcGIS เท่านั้น แต่โปรแกรม MIKEbyDHI จะใช้ License ในเครื่องตัวเอง

โดยเอกสารแนะนำการลงโปรแกรมและ License ของแต่ละ Option เป็น PDF สามารถคลิกที่แต่ละ Option ด้านบนเพื่อเปิด หรือโหลดเอกสารไปใช้ประกอบการลงโปรแกรมตามทางเลือกที่ต้องการ

ข้อสำคัญคือ ลำดับขั้นตอนการ ลงโปรแกรม ต่างๆ ต้องดำเนินการตามที่แนะนำในเอกสารแนะนำการลงโปรแกรมในแต่ละทางเลือก ห้ามสลับลำดับกัน ไม่เช่นนั้นจะทำให้ลงทะเบียน License ไม่ผ่าน


วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

งานสัมมนาทางวิชาการ UGM 2014

งานสัมมนาทางวิชาการ จัดร่วมกันระหว่าง
คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ DHI ในหัวข้อ
"นวัตกรรมแบบจำลองน้ำกับความท้าทายในการประยุกต์ใช้งานที่หลากหลายในศตวรรษที่ 21"

ทั้งนี้ได้รับความกรุณาจาก ศ.ดร. สมนึก   ธีระกุลพิศุทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์กล่าวเปิดประชุม

เอกสารในงานสัมมนา ที่รวบรวมมาจากวิทยากรรับเชิญมีดังต่อไปนี้

รศ.ดร. เฉลิมชัย พาวัฒนา
(อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

ดร. กิตติเวช ขันติยวิชัย
(อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

Mr. Torben Strange Jensen
(Business Area Manager, Water Resources, MIKE by DHI)

นายธาดา สุขะปุณณพันธุ์
(ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษาอุทกวิทยา กรมชลประทาน)

Mr. Niels Hvam
(Senior Engineer, Marine Software, MIKE by DHI)

นายจิรัฎฐ์ ลักษณะละม้าย
(วิศวกร สำนักวิศวกรรม กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม)

Mr. Torben Strange Jensen
(Business Area Manager, Water Resources, MIKE by DHI)

นายวาทิน ธนาธารพร
(ผู้ช่วยนักวิจัย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน))

ดร. สมชาย ชนวัฒนา
(Hydraulic Engineer, MIKE by DHI)

หลังงานสัมมนาในวันแรก ได้มีการถ่ายภาพหมู่ร่วมกันที่หน้าอาคารเพียรวิจิตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


และในวันที่ 2 ในงานสัมมนา ได้เดินทางไปดูงานยัง
สถานีตรวจวัดน้ำกรมชลประทาน (E.22 B)

นายสงวน กันทะวงศ์ ผู้อำนวยการ
ศูนย์อุทกวิทยาและบริหารน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
กรมชลประทานให้การต้อนรับและพาชมสถานีพร้อมบรรยาย




ในช่วงบ่ายได้พาคณะสัมมนาไปเยี่ยมชมเขื่อนอุบลรัตน์
โดยมีนางอัมรา มีถม
วิศวกรระดับ 9 โรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนอุบลรัตน์
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปการบริหารจัดการเขื่อน




ในท้ายที่สุดนี้ คณะผู้จัดงานประชุม ขอขอบคุณทุก ๆ ท่านที่เกี่ยวข้อง ไว้ ณ โอกาสนี้
และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดประชุมครั้งนี้จะทำให้ผู้มาร่วมประชุมทุกท่าน
ได้รับความรู้และเพิ่มพูนประสพการณ์การทำงานกับแบบจำลองด้านน้ำ
และสามารถนำความรู้และข้อเสนอแนะการใช้งานแบบจำลองที่ได้จากการประชุมครั้งนี้ไปใช้พัฒนาองค์กร อันมีส่วนช่วยให้การพัฒนางานด้านน้ำของประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าสืบไป

วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

แบบจำลองเพื่อสร้างแผนที่น้ำท่วม

ในประเทศไทย หลังๆมีปัญหาน้ำท่วมค่อนข้างบ่อย และด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน เรามีแบบจำลอง
ข้อมูล และเครื่องมือต่างๆที่ช่วยให้การจำลองแผนที่น้ำท่วมได้ดีมากขึ้น
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการสร้างแผนที่น้ำท่วมด้วยแบบจำลองของ MIKE by DHI แบบต่างๆ
ต้องบอกก่อนว่า แผนที่น้ำท่วม สามารถสร้างได้จากแบบจำลองหลายๆแบบ
และต่างก็มีข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป ขึ้นกับชนิดของแบบจำลอง


MFlood (M11 + M21FM with block out river)           MFlood (M11 + M21FM Run river flow in M21FM)


ตัวอย่างแผนที่น้ำท่วมจากการใช้แบบจำลองแบบต่างๆ


ต่อไปนี้เป็นวีดีโอแสดงตัวอย่างแผนที่น้ำท่วมที่ได้จากแบบจำลองแบบต่างๆกัน


1) MIKE11 HD + MIKE11GIS (Version <= 2005)

2) MIKE11 HD แบบใช้แต่ Cross-section (Version >= 2005)

3) MIKE11 HD แบบใช้ Help Grid (Version >= 2005)

4) MIKE FLOOD (MIKE11+MIKE21)

5) M21

6) MIKE11 HD+MIKE SHE

7) MFlood (M11 + M21FM with block out river)

8) MFlood (M11 + M21FM Run river flow in M21FM)


วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Error: fail to open timeseries for boundary "xxx"

เป็นปัญหา Error ที่พบหลังจากการถอนและลงโปรแกรมใหม่
ทำให้ค่า Registry บางตัวมีการค้าง และไม่มีการลงทะเบียนใหม่ให้ถูกต้อง
กรณีนี้เกิดกับ

MIKE by DHI Version 2012 SP3

โดยจะพบว่าเมื่อสั่งรันแบบจำลองจะมี Error ฟ้องว่า
fail to open timeseries for boundary no.1 name "xxx"exception: the specified module could not be found, classID: 8D914F4D-2A67-477D-B31C-7DD572CE2B97"

แต่เมื่อเปิดไฟล์ dfs0 ดังกล่าวด้วยตนเอง กลับเปิดได้ปกติ
กรณีนี้ให้
re registry dll สองตัว
ด้วย command prompt โดยพิมพ์คำสั่งดังนี้

regsvr32 "C:\Program Files (x86)\DHI\2012\bin\x64\timeseries.dll"
regsvr32 "C:\Program Files (x86)\DHI\2012\bin\x64\dfstsbridge.dll"


วันศุกร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2557

การสร้างรูปแผนที่น้ำท่วม และนำไปวางซ้อนไว้บนแผนที่ Google Earth

ในบทความนี้จะแนะนำเทคนิคการสร้างแผนที่น้ำท่วมจากผลคำนวณ
เพื่อนำไปวางซ้อนและแสดงบนแผนที่ Google Earth

เบื้องต้น จะต้องมีโปรแกรม Google Earth ติดตั้งไว้ในเครื่องที่จะใช้งานก่อน
และจะต้องมีไฟล์ผลคำนวณจากโปรแกรม MIKE แบบ 2 มิติก่อน โดยจะมีนามสกุล dfs2
จากนั้นจะใช้โปรแกรม
"C:\Program Files (x86)\DHI\2012\bin\ExportDfs2GE.exe"
ซึ่งจะมาพร้อมการติดตั้งโปรแกรม MIKEbyDHI อยู่แล้ว
ในการแปลงผลคำนวณเป็นรูปภาพพร้อมสร้างไฟล์ KML สำหรับเปิดด้วยโปรแกรม Google Earth

ให้ทำการเตรียมไฟล์แผนที่น้ำท่วม พร้อมกับปรับแต่ง pallet ที่แสดงสีของระดับน้ำท่วม
ให้เรียบร้อยก่อน และจัดเก็บ pallet ที่ปรับแต่งเรียบร้อยแล้วเก็บไว้
โดยจะได้เป็นไฟล์นามสกุล pal
รูปด้านล่างเป็นตัวอย่างการปรับแต่งสีที่แสดงระดับน้ำท่วม โดยการเปิดไฟล์ผลคำนวณ
และเลือกเมนู View/Pallets ซึ่งจะมีให้เลือกสร้างใหม่ แก้ไข หรือจะจัดเก็บ

เมื่อเตรียมไฟล์พร้อมแล้ว ให้เปิดโปรแกรม ExportDfs2GE.exe โดยเปิดโปรแกรมได้ที่
Start/All Programs/MIKE by DHI 2012/MIKE Zero/Tools/MIKE to Google Earth
แล้วทำการเลือกไฟล์ผลคำนวณ dfs2 และปรับแต่งให้ใช้ pallet ที่เราจัดทำไว้
พร้อมทั้งเลือก folder ที่จะเก็บรูปภาพและไฟล์ KML

เราสามารถเซฟการตั้งค่าไว้โดยเก็บเป็นไฟล์นามสกุล mge
และสามารถสั่งให้โปรแกรม ExportDfs2GE.exe รันด้วย Batch file ได้เช่นกัน
เมื่อกรอกข้อมูลพร้อมแล้วให้กดปุ่ม Export images and create KML-file
โปรแกรมจะทำการสร้างรูปตามจำนวนที่เรากำหนด พร้อมกับสร้างไฟล์ KML

เมื่อสร้างไฟล์เสร็จแล้ว ตรวจสอบไฟล์ที่สร้างไว้ใน Folder ที่ตั้งค่าไว้

 ให้เปิดไฟล์ KML ด้วยโปรแกรม Google Earth 

จะพบว่า โปรแกรม Google Earth จะนำภาพที่สร้างไว้ทั้งหมด มาวางซ้อนไว้ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
และเราสามารถ Play แผนที่น้ำท่วมนี้ หรือจะปรับแต่โปรแกรม ให้ซ้อนทับกับแผนที่อื่นๆได้ด้วย

และหากต้องการนำไฟล์ไปใช้งานกับแผนที่ Google Earth ที่เปิดผ่านหน้า web browser
ให้ทำการ save place as ไฟล์ออกไปเป็นนามสกุล KMZ 
โดยไฟล์ KMZ เป็นการเก็บเอาไฟล์รูปทั้งหมดและ KML เข้าไว้ด้วยกัน

เมื่อได้ไฟล์ KMZ แล้วให้นำไปฝากไว้กับ url ที่สามารถเข้าถึงได้โดยตรงจาก web browser
ในกรณีตัวอย่าง ได้ฝากไฟล์ไว้กับ Dropbox ซึ่งให้บริการฟรีแต่ต้องสมัครใช้บริการก่อน
โดยวางไว้ใน Public ซึ่งจะสามารถเปิดดูโดยใครก็ได้โดยไม่ต้อง login ก่อน
ทำให้เราสามารถเปิด หรือโหลดไฟล์นี้จาก link ที่กำหนดไว้ได้ทันที

หากใช้ Dropbox ในการฝากไฟล์ KMZ จะสามารถ Copy public link ได้ทันที
และเมื่อนำ link ที่ได้มา ไปเปิดใน maps.google.com
โดยการวาง link ในช่อง search ก็จะสามารถเปิดแสดงแผนที่ KMZ ซ้อนในแผนที่ได้ทันที

**********************************
และหากต้องการนำแผนที่ดังกล่าวไปเผยแพร่ต่อให้ผู้อื่น เราสามารถสร้าง html link ได้ง่ายๆ
โดยเริ่มต้นด้วย

https://maps.google.com/?q=

แล้วต่อท้ายด้วย link ของไฟล์ KMZ ดังตัวอย่างด้านล่าง

*************************************

อัพเดท นับจากวันที่ 1 กพ.  2558 เป็นต้นไป ทาง Google ได้ปิดระบบการเปิดแผนที่ kml/kmz

ผ่านการแชร์ไฟล์แบบด้านบนแล้วนะครับ ตามประกาศใน link ด้านล่างนี้

https://developers.google.com/maps/support/kmlmaps

โดย Google แจ้งว่าแผนที่ kml/kmz ที่แชร์ไว้จะเปิดผ่าน maps.google.com ไม่ได้แล้ว
นับตั้งแต่วันที่ 1 กพ.  2558 เป็นต้นไป

แต่ เขาให้ใช้แผนที่แบบนี้ได้ผ่าน My map ซึ่งก็คือต้องใช้ Google Account ของเราเองในการ
สร้างแผนที่ที่ใช้ไฟล์ Kml/Kmz ของเราขึ้นมาเอง เป็นแผนที่ใน My Map ของเราเอง
แล้วค่อย Share แผนที่ตัวที่สร้างไว้แล้วอีกที


และสำหรับไฟล์ mge ที่เป็นไฟล์ตั้งค่าการแปลงผลคำนวณเป็นแผนที่บน Google Earth นั้น
เราสามารถสั่งรันด้วย batch file ด้วยคำสั่งดังนี้

"C:\Program Files (x86)\DHI\2012\bin\ExportDfs2GE.exe" -export "C:\Project\Flood.mge"

โดยไฟล์ Flood.mge เป็นไฟล์ที่เราต้องตั้งค่าการสร้างแผนที่แบบ KML ไว้เรียบร้อยแล้ว

วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557

การเพิ่มความจุของฝายทดน้ำ ในแบบจำลอง MIKE Hydro Basin

สำหรับบทความนี้ จะแนะนำการเพิ่มฝายทดน้ำเพื่อการชลประทาน
หรือ ฝายที่มีความจุน้ำไม่มาก และมีจุดประสงค์เพื่อการทดน้ำสำหรับการชลประทานเท่านั้น
โดยไม่ได้ใช้เพื่อการบรรเทาน้ำท่วม

โดยทั่วไป ในแบบจำลอง MIKE Hydro Basin จะมีเพียงโครงสร้างแบบเขื่อนเท่านั้น
ทำให้ไม่สามารถใส่โครงสร้างแบบ ฝาย ลงไปได้
ดังนั้น ในการเพิ่มโครงสร้างฝายเพื่อการทดน้ำ จึงต้องทำผ่านการเพิ่ม เขื่อน ในแบบจำลอง

ตัวอย่างนี้ เป็นการทดลองสร้างลำน้ำแบบง่าย
มี River Node N5 เป็นต้นน้ำ
ใช้ Water User W3 เป็นตัวป้อนน้ำเข้าระบบ
มี Water User W4 เป็นผู้ใช้น้ำ โดยดึงน้ำโดยตรงจากฝาย
มี ฝายที่แทนด้วยเขื่อนคือ R2 ที่มีความจุสูงสุด 16 ล้าน ลบ.ม.
โครงข่ายลำน้ำดังกล่าวสร้างแบบง่ายๆได้ดังรูปนี้


น้ำไหลเข้าทางต้นทาง W3  กำหนดค่าสำหรับทดสอบดังนี้


น้ำที่ดึงออกไปสำหรับการชลประทาน W4 กำหนดค่าคงที่เท่ากับ 8 m3/s


แบบจำลองยังต้องเพิ่มข้อมูลสำหรับเขื่อน ที่ทำหน้าที่แทนฝายทดน้ำ
ประกอบไปด้วย LevelAreaVolume โดยทั่วไปกรณีฝายทดน้ำขนาดเล็ก อาจมีแต่ข้อมูลความจุสูงสุด
สามารถสร้างตารางได้อย่างง่าย โดยสมมุติค่าพื้นที่ผิวน้ำขึ้นมาเองได้เลย เนื่องจากไม่ได้ใช้ 
ระดับน้ำต่ำสุด  : ความจุ = 0
ระดับน้ำสูงสุด : ความจุ = ความจุสูงสุด (16 MCM)

CharacteristicLevel
Bottom Level = ระดับน้ำต่ำสุด
Dead Zone Level = ระดับน้ำต่ำสุด
Crest Level = ระดับน้ำสูงสุด

นอกจากนี้ยังต้องเพิ่มข้อมูล การบริหารเขื่อน
โดยตั้งค่าระดับน้ำเพื่อควบคุมน้ำท่วม ไว้เท่ากับค่าระดับน้ำสูงสุด
อัตราการระบายน้ำต่ำสุด เท่ากับ 0

และสุดท้ายต้องเพิ่มข้อมูลการจัดการน้ำสำหรับผู้ใช้น้ำที่ดึงน้ำจากเขื่อนโดยตรง
โดยเพิ่ม No. of Reduction Level เป็น 1
จะมีช่องกรอกข้อมูล แล้วตั้งค่า Reduction ดังนี้
Reduction Level = ระดับน้ำต่ำสุด (คงที่)
Reduction Factor = 0 (คงที่)
การตั้งค่าดังนี้มีผลให้ ไม่มีการลดปริมาณน้ำในกรณีที่ระดับน้ำลดต่ำกว่าเกณฑ์ (Reduction Level)



เมื่อสร้างแบบจำลองอย่างง่ายเสร็จแล้ว ก็ทดสอบรันแบบจำลอง
โดยในกรณีนี้ เตรียมข้อมูลครบ 1 ปี และหลายๆข้อมูลใช้ค่าคงที่
จึงสามารถรันแบบจำลองได้ หลายปี เพราะโปรแกรมจะเวียนใช้ข้อมูลในปีต่อๆไปได้เอง

ตั้งค่า Simulation Description เป็น WithStorage แล้วสั่งรัน
หลังรันแบบจำลองกรณีมีความจุของฝาย (WithStorage)
หลังจากนั้น
ให้เปลี่ยนแปลงค่า LevelAreaVolume โดยแก้ค่า ความจุสูงสุดให้เหลือ 0 MCM
แล้วแก้ค่า Simulation Description เป็น WithOutStorage เพื่อเป็นกรณีไม่มีฝาย

และสุดท้าย ให้เปลี่ยนแปลงค่า LevelAreaVolume โดยแก้ค่า ความจุสูงสุดให้เป็น 160 MCM 
แล้วแก้ค่า Simulation Description เป็น WithBigStorage เพื่อเป็นกรณีมีฝายความจุสูง

เมื่อรันครบ 3 กรณีแล้ว จะสามารถตรวจสอบผลคำนวณการขาดน้ำของ W4 ได้ดังรูป


โดยมีปริมาณน้ำในฝายดังนี้


จากตัวอย่างนี้ อธิบายได้ดังนี้

กรณีที่มีฝายที่มีความจุเดิม พบว่า ความจุของฝายมีขนาดเล็ก และไม่เพียงพอต่อการเก็บน้ำให้พอใช้ตลอดทั้งปี แต่จะพบว่า การขาดน้ำ จะน้อยกว่ากรณีที่ไม่มีฝาย และในกรณีที่ฝายมีความจุมากเพียงพอ จะพบว่าพื้นที่นี้จะมีน้ำใช้อย่างเพียงพอ และไม่เกิดการขาดน้ำเลย

ในกรณีนี้ ได้สมมุติให้ปริมาณน้ำน้ำไหลเข้าสะสมทั้งปี มีค่าเท่ากับปริมาณความต้องการใช้น้ำสะสมทั้งปี
แต่น้ำไหลเข้ามีปริมาณที่ไม่เท่ากัน มากบ้าง น้อยบ้างในแต่ละช่วงเวลาของปี ทำให้มีความจำเป็นต้องการฝายที่มีความจุน้ำระดับหนึ่ง ช่วยกักน้ำในช่วงน้ำมาก เก็บไว้ใช้ในช่วงน้ำน้อย

ใครสนใจตัวอย่างนี้ สามารถโหลด Setup ที่ผมทำเสร็จแล้วได้จาก