วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

การลดจำนวน Points ใน Network ของแบบจำลอง MIKE11

ปัญหาหนึ่งในแบบจำลอง MIKE11 ที่พบเมื่อสร้างแบบจำลองสำหรับ

พื้นที่ศึกษาที่มีขนาดใหญ่ แล้วใช้ข้อมูลเส้นลำน้ำจากฐานข้อมูลเชิง GIS

คือ จำนวน Node หรือ Points ของเส้นลำน้ำ มีเยอะมาก (เกิน 50 000 Points)

แล้วมีผลทำให้การเปิดใช้งานหน้าต่างการจัดการข้อมูล Network มีปัญหา

ทำให้การเลื่อน ซูม การดู หรือจะแก้ไขค่าต่างๆ มีอาการหน่วงเป็นอย่างมาก

แต่หากจะลดจำนวน Points ของเส้นลำน้ำลงมากๆ

ด้วยวิธีใช้ระยะห่างของ node เท่าๆกัน ก็ทำให้เส้นลำน้ำ ไม่โค้งตามธรรมชาติเท่าที่ควร

ทำให้ลดจำนวน Node ไม่ได้อย่างที่ต้องการ

หากใครมีปัญหานี้ ต่อไปนี้เป็นวิธีแก้ไข โดยสมมุติว่ามี Network ที่สร้างเสร็จแล้ว

และมีจำนวน Points เยอะมากเกินและต้องการลดจำนวน Points ลง

ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้

1) เปิดไฟล์ Network นั้นขึ้นมา แล้วเลือกเมนู Network/Export Network Data to Shape file



2) เลือกสร้างเฉพาะ River Network ดังรูป



3) เปิดเวบไซด์ http://www.mapshaper.org/ ซึ่งจะมีตัวช่วยในการลดจำนวน points ให้เลือก % ว่าจะลดจำนวน points เหลือเท่าไหร่ โดยขั้นตอนนี้ต้องทดสอบว่าลดเหลือเท่าไหร่ จึงยังได้เส้นลำน้ำที่ยังมีส่วนโค้งที่ยอมรับได้อยู่



4) การใช้งานเวบไซด์ดังกล่าว แนะนำให้เลือกวิธีการลด points แบบ modified Visvalingam จากนั้นให้ลากไฟล์ SHP วางลงไปบนหน้าเวบ แล้วทดสอบเลื่อน % ในการลด point และหากได้ % ที่ต้องการแล้วให้คลิกที่ ปุ่ม Shapefile เพื่อโหลดไฟล์ SHP ที่ทำการลดทอน point ลงแล้วกลับมา



5) ไฟล์ที่ได้กลับมาจะมีเพียงสองไฟล์ที่มีนามสกุล SHP และ SHX ส่วนไฟล์ DBF ให้ใช้ไฟล์เดิมได้เลย ดังนั้นเมื่อ โหลดไฟล์กลับมาแล้ว unzip แล้วให้ copy ไฟล์ DBF ไปไว้ด้วยกันด้วย ถึงจะใช้งานได้

6) กลับมาที่ Network แล้วเลือกเมนู Layer/Add remove layer เพิ่ม Layer ใหม่แล้ว เลือกชนิด Shape File แล้วโหลดไฟล์ SHP ที่ได้มาใหม่เข้ามา



7) ลบเส้นลำน้ำเดิมพร้อมทั้ง points ทั้งหมด (ลบใน Tabular view จะสะดวกกว่า)

8) แปลงไฟล์ SHP มาเป็นเส้นลำน้ำโดยเลือกเมนู Network/Generate network from shape file



9) หากไฟล์เดิมมีการ Link เส้นลำน้ำไว้ เราสามารถ Copy การ Link ของเดิม ใน Tabular view/Network/Branches ในตาราง Overview มา paste ลงไปใน Network ที่ทำใหม่ได้ โดยมีเทคนิคว่าจะต้องใช้เมนู Edit/Copy และ Edit/Paste ในการ copy และ paste (ใน version 2012 sp2 พบว่าไม่สามารถใช้ Shot cut Ctrl+C และ Ctrl+V ได้)



หวังว่าเทคนิคนี้จะช่วยให้ทำงานกับ Network ในแบบจำลอง MIKE11 ได้สะดวกมากขึ้น

การลดจำนวน points ในแบบจำลองลงได้ จะทำให้การทำงานกับแบบจำลองไม่หน่วงมาก ใช้งานได้คล่องตัวมากขึ้น และไม่มีผลกับผลคำนวณจากแบบจำลอง เว้นแต่กรณีที่ทำแผนที่น้ำท่วม ซึ่งความโค้งของเส้นลำน้ำ มีผลต่อแผนที่น้ำท่วมที่สร้างขึ้นมาด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

การวิเคราะห์ระดับน้ำยกตัวเนื่องจากพายุ Storm Surge ด้วยโปรแกรม MIKE 21 FM

ในกรณีที่ต้องการคำนวณระดับน้ำที่ยกตัวเนื่องจากพายุ

ข้อมูลที่จำเป็นในการคำนวณคือ ระดับน้ำขึ้น น้ำลง ที่ Boundary ของแบบจำลอง

ซึ่งได้อธิบายวิธีการหาค่าระดับน้ำดังกล่าวไว้แล้วในบทความก่อนหน้านี้

สำหรับอีกข้อมูลหนึ่งที่ต้องใช้คือ ความเร็วลมที่เกิดขึ้นเนื่องจากพายุ

แต่โดยทั่วไปแล้ว เราจะได้ข้อมูลของพายุคือ ตำแหน่งที่แสดงการเคลื่อนที่ของพายุเท่านั้น

โดยจะมาพร้อมกับ เส้นรอบวงของพายุ ความเร็วสูงสุด และระดับความดันที่ต่ำกว่าพื้นที่โดยรอบ

ด้วยข้อมูลพายุดังกล่าว เราสามารถนำมาใช้ในการคำนวณความเร็วลม

สำหรับใช้เป็นข้อมูลนำเข้าแบบจำลองได้ด้วยโปรแกรม MIKE 21 Toolbox

โดยจะมีเครื่องมือช่วยคำนวณความเร็วลม จากข้อมูลตำแหน่งของพายุ



ในเครื่องมือนี้ หากใช้วิธีคำนวณความเร็วลมอย่างง่ายสุด จะต้องการข้อมูลของพายุประกอบไปด้วย

วันเวลา พิกัดของตาพายุ รัศมีของพายุ ความเร็วลมสูงสุด ความกดอากาศที่ศูนย์กลาง และความกดอากาศบริเวณรอบนอก



ในตัวอย่างนี้ ผมได้ทดสอบคำนวณการยกตัวของน้ำ จากกรณีพายุเกย์ ที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532

โดยได้ข้อมูลพายุจากเวบไซด์


เมื่อตรวจสอบข้อมูลพายุที่ได้มาจะมีลักษณะดังรูป


เส้นทางพายุเกย์ เป็นดังรูปนี้

** รูปจาก http://www.jma.go.jp

หลังจากที่กรอกข้อมูลพายุในเครื่องมือครบแล้ว พร้อมกับระบุขนาดและจำนวณกริดที่จะให้สร้างข้อมูลลมแบบ 2 มิติ ก็สามารถสั่งรันเพื่อสร้างข้อมูลลมจากพายุได้ทันที

ตัวอย่างข้อมูลลมที่คำนวณได้จาก พายุเกย์



เมื่อได้ข้อมูลครบแล้ว ทั้งระดับน้ำที่ Boundary และลมจากพายุเกย์

ก็นำทั้งหมดมาคำนวณการยกตัวของน้ำในแบบจำลอง MIKE 21 FM

โดยตัวอย่างด้านล่างนี้ ได้ทดสอบเพื่อให้เห็นอิทธิพลของ น้ำขึ้นน้ำลง พายุ และผลรวมของทั้งคู่ (รูปเรียงตามลำดับ)



ในการใช้งานจริง จะต้องมีการปรับเทียบแบบจำลอง โดยหาข้อมูลเท่าที่มีบันทึกค่าระดับน้ำช่วงที่เกิดพายุไว้ นำมาปรับเทียบกับผลจากแบบจำลอง เพื่อให้มีความถูกต้องก่อนนำมาใช้งานเพื่อศึกษาในเหตุการณ์สมมุติอื่นๆต่อไป

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

โปรแกรมคำนวณระดับน้ำขึ้น น้ำลง ทั่วโลก Global Ocean Tide Model in MIKEbyDHI

ข้อมูลระดับน้ำขึ้นน้ำลงในทะเลเป็นข้อมูลที่สำคัญ

ที่จะต้องใช้เป็นข้อมูลป้อนเข้าแบบจำลองการไหลในทะเล

ในชุดแบบจำลอง MIKEbyDHI จะมีเครื่องมือช่วยในการทำนายค่าระดับน้ำในทะเล

โดยอยู่ใน MIKE 21 Toolbox



โดยเมื่อเลือกเครื่องมือในกลุ่ม Tide จะพบเครื่องมือสำหรับทำนายค่าระดับน้ำ



โดยในการทำนายค่าระดับน้ำนั้น ปัจจุบันทาง DHI ได้มีการปรับปรุง เพิ่มเติมข้อมูลใหม่

ที่มีความถูกต้องเพิ่มขึ้น และมีความละเอียดมากกว่าเดิม

สามารถโหลดข้อมูลการทำนายค่าระดับน้ำใหม่ได้ที่ (การ Download จะต้องลงทะเบียนก่อน)


เผื่อว่ากรณีที่ Link ข้างบนใช้ไม่ได้ในอนาคต มีข้อแนะนำคือ ให้เปิดโปรแกรม Tide Prediction of Heights จนถึงหน้าที่ให้เลือก Global Tide แล้วให้กดปุ่ม F1 ก็จะมี Help แนะนำการ Download ไฟล์ดังกล่าวไว้ด้วยเช่นกัน

โดยเมื่อโหลดไฟล์ดังกล่าวมาแล้วให้ทำการ Unzip แล้วเก็บไฟล์ dfs2 ไว้ที่

C:\Program Files (x86)\DHI\2012\MIKE Zero\Application Data\Tide Constituents
หรือ
C:\Program Files\DHI\2012\MIKE Zero\Application Data\Tide Constituents

โดยในขั้นตอนการทำนายระดับน้ำ ให้เลือกใช้ข้อมูล Constituent file เป็นไฟล์ dfs2 ที่โหลดมาใหม่



จากนั้น กรอกชนิดของข้อมูลที่ต้องการ และตามด้วย พิกัดตำแหน่งที่ต้องการค่าระดับน้ำ

โดยเมื่อสั่งคำนวณแล้ว (กดปุ่ม Execute ในหน้าสุดท้าย)

หลังคำนวณเสร็จ โปรแกรมจะแสดงกราฟระดับน้ำที่ได้



จะได้ไฟล์ dfs0 หรือ dfs1 ตามที่ได้ตั้งค่าไว้ เป็นค่าระดับน้ำเทียบกับ ระดับน้ำทะเลปานกลาง

ด้วยวิธีการนี้ จะช่วยให้การสร้างแบบจำลอง สะดวกขึ้นมาก

สำหรับที่มาของข้อมูลการทำนายค่าระดับน้ำ (Tidal Constituent) ใหม่นั้น

สามารถดูรายละเอียดที่มาได้ที่


วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

การใช้ GPU เพิ่มความเร็วการคำนวณในแบบจำลอง MIKE21 FM series ใน version 2014 เป็นต้นไป

วันนี้ขอแปลข่าวจากจดหมายข่าว MIKE by DHI ฉบับเดือน กันยายน 2556

มีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวการเพิ่มความเร็วการคำนวณในแบบจำลอง MIKE21 FM series

โดยใช้ความสามารถของหน่วยประมวลผลของ Graphic ซึ่งมีอยู่ใน Computer อยู่แล้ว

มาช่วยให้การคำนวณทำงานได้เร็วขึ้น โดยเรียกว่า MIKE 21 GPU

ความสามารถนี้จะมีใน Version 2014 เป็นต้นไป

โดยแบบจำลองที่จะได้ประโยชน์จากการใช้ GPU ช่วยในการคำนวณจะประกอบไปด้วย

MIKE 21 FM series และ MIKE Flood

เอกสารทดสอบประสิทธิภาพในการใช้ GPU สามารถโหลดได้จาก


จากในรายงาน ได้ทดสอบด้วย GPU ต่างๆดังนี้

- GeForce GTX 580
- GeForce GTX TITAN
- NVS 4200M
- Tesla M2050

 โดยสรุปพบว่าการคำนวณทำได้ดีที่สุดเมื่อใช้งานร่วมกับ GPU ของ GeForce GTX TITAN

โดย GPU ช่วยให้การคำนวณทำงานได้เร็วขึ้นสูงสุดประมาณ 100 เท่า เมื่อเทียบกับการคำนวณด้วย

MIKE 21 FM ที่ใช้ CPU 1 Core








วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

Installation guide for MIKE Zero 2012 on Windows 7 OS system

การติดตั้งโปรแกรม MIKE Zero บน PC หรือ Notebook ที่ใช้ระบบปฎิบัติการ XP มักจะไม่คอยพบปัญหา
แต่บนระบบ Windows 7 มักพบว่าเกิดปัญหาการติดตั้ง เพราะระบบมีความปลอดภัยสูง
และทำให้การติดตั้งโปรแกรมไม่สมบูรณ์

แต่วิธีการหลีกเลี่ยงปัญหาการติดตั้งไม่สมบูรณ์ที่ง่ายสุดสำหรับ Windows 7 คือ
การเลือกรันตัว Setup.exe แบบ Administrator โดยการคลิกขวาแล้วเลือกวิธีการรันดังกล่าว




สำหรับผู้ที่ติดปัญหาการลงโปรแกรม ลองโหลดคู่มือแนะนำการติดตั้งโปรแกรม
ที่เขียนอธิบายขั้นตอนการติดตั้งไว้เป็นภาษาไทยจาก link ที่ให้ไว้ได้ล่างนี้ได้


และหากยังมีปัญหาไม่สามารถติดตั้งได้สมบูรณ์ แนะนำให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ DHI ประจำประเทศไทย
เพื่อขอคำแนะนำในการติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมได้ครับ