วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

GPU กับการเพิ่มควมเร็วในการคำนวณด้วยแบบจำลองน้ำท่วม 2 มิติใน MIKE21 FM series

จากที่เคยแนะนำข่าวเกี่ยวกับการใช้งาน GPU สำหรับแบบจำลอง MIKE21 FM
ไปก่อนหน้านี้ใน



ตอนนี้ DHI ได้พัฒนาการใช้งาน GPU เพื่อเร่งความเร็วการคำนวณ ปัจจุบันออกเวอร์ชั่น 2016
และได้มีผู้ใช้งาน GPU ในการคำนวณไปบ้างแล้วพอสมควร
และทาง DHI ได้รวบรวม Q&A ที่เกิดจากการใช้งานต่างๆ
รวมถึงรวบรวมรายงานการทดสอบการใช้งานที่ทาง DHI ได้ทดสอบไว้กับ GPU แบบต่างๆ
และได้นำเสนอไว้ในเวบเพจ MIKEbyDHI


ต่อไปนี้เป็นรายงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบและแนะนำการใช้งาน GPU


รายงานเล่มแรกที่จะแนะนำเป็นรายงานอธิบายการใช้งาน GPU โดยแนะนำตั้งแต่ Hardware, การตั้งค่า GPU การตั้งค่าการใช้งาน GPU ในแบบจำลอง และยังได้รวบรวมปัญหาต่างๆที่พบบ่อยและการแก้ไข
รายงานนี้มีสารบัญดังนี้ (คลิกที่รูปเพื่อโหลดเอกสารนี้)




รายงานเล่มต่อมานี้เป็นรายงานเสนอผลการทดสอบการใช้งาน GPU ในการรันแบบจำลองเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพเทียบกับกรณีที่ไม่ได้ใช้งาน GPU
รายงานนี้มีสารบัญดังนี้ (คลิกที่รูปเพื่อโหลดเอกสารนี้)



รายงานเล่มนี้เป็นรายงานเสนอผลการทดสอบการใช้งาน GPU ด้วยเช่นกัน แต่เป็นกรณีที่มีการใช้งานหลาย GPU ร่วมกันในการคำนวณ
รายงานนี้มีสารบัญดังนี้ (คลิกที่รูปเพื่อโหลดเอกสารนี้)




สุดท้ายรายงานเล่มนี้เป็นรายงานเสนอผลการทดสอบการใช้งาน GPU กรณีใช้แบบจำลอง MIKE3 FM 
รายงานนี้มีสารบัญดังนี้ (คลิกที่รูปเพื่อโหลดเอกสารนี้)




วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แบบฝึกหัดสำหรับผู้เริ่มต้นใช้แบบจำลอง MIKE Hydro River

สำหรับผู้ที่เริ่มใช้แบบจำลอง MIKE Hydro River

เนื่องจากเป็นแบบจำลองที่ออกมาใหม่ในช่วงปี 2014-2016
และมีการปรับเปลี่ยน User Interface ไปจากเดิมค่อนข้างมาก
แม้ว่าความสามารถและการทำงานหลายๆอย่างจะเทียบเท่า และดีกว่าเดิม

แต่ผู้ที่ปรับเปลี่ยนจากการใช้แบบจำลอง MIKE 11 มาเป็น MIKE Hydro River
ก็จะต้องปรับตัวพอสมควรกับหน้าตาโปรแกรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม

เนื่องจากได้เคยอัพโหลดไฟล์ที่เป็นคู่มือและตัวอย่างสำหรับ
ผู้เริ่มต้นใช้แบบจำลอง MIKE Hydro River ไปแล้วในบทความก่อนหน้า
แต่ไม่ได้ลงรายละเอียดไว้ใน Blog ว่าในแบบฝึกหัดนั้นแนะนำการใช้งานในด้านใดบ้าง

ดังนั้นในบทความนี้จึงขอเขียนถึงรายละเอียดที่ได้แนะนำไว้ในแบบฝึกหัดนั้น
พร้อมทั้งนำ Link ที่ได้เคยลงไว้มาแปะไว้ที่นี่อีกรอบ
เพื่อความสะดวกในการค้นหาใน Blog นี้

เนื้อหาในแบบฝึกหัด ผมขอตัดเอามาจากสารบัญของคู่มือแบบฝึกหัด
โดยเพิ่มคำอธิบายเพื่อให้เห็นถึงรายละเอียดในคู่มือได้มากขึ้นดังนี้

บทที่ 1
การนำเข้าแบบจำลอง MIKE 11 เดิม มาใช้ในแบบจำลอง MIKE Hydro River
เป็นการนำเข้าแบบจำลองที่มีอยู่เดิม เพื่อปรับมาใช้กับ MIKE Hydro River การนำเข้าจะมีขั้นตอนไม่ยุ่งยากเนื่องจากมี Tool สำหรับช่วยในการนำเข้ามาให้พร้อมใช้งาน

บทที่ 2
การตั้งค่าโครงสร้างทางชลศาสตร์ในแบบจำลอง MIKE Hydro River
เป็นตัวอย่างการตั้งค่าโครงสร้างประตูระบายน้ำที่มีการบริหารการเปิดปิดบานประตูตามการขึ้นลงของน้ำ เพื่อบังคับให้น้ำไหลไปทิศทางเดียว ตัวอย่างนี้มีประโยชน์ในกรณีต้องการบริหารประตูระบายน้ำเพื่อจัดการน้ำให้มีการระบายไปทิศทางเดียว แต่มีอุปสรรค์ด้านน้ำขึ้นน้ำลงที่ทำให้การระบายน้ำทำได้แค่บางช่วงเวลา การตั้งค่านี้ยังให้ผลคำนวณเป็นระดับการเปิดปิดบาน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารการเปิดปิดบานประตูระบายน้ำจริงๆได้

บทที่ 3
การทำงานร่วมกับข้อมูล DEM ในแบบจำลอง MIKE Hydro River
เมื่อมีข้อมูล DEM ซึ่งเป็นแผนที่ค่าระดับความสูงต่ำของพื้นที่ สำหรับพื้นที่ศึกษา เราจะสามารถใช้ข้อมูล DEM เพื่อประโยชน์ในการสร้าง เส้นลำน้ำหรือ river network, หน้าตัดลำน้ำหรือ Cross section และแบ่งพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยหรือ Sub catchment ได้ โดยโปรแกรมจะมีเครื่องมือช่วยในการดำเนินการดังกล่าวทั้งหมด ทำให้สะดวกในการจัดทำข้อมูลต่างๆสำหรับแบบจำลองการไหลในลำน้ำหากมีข้อมูล DEM ที่มีคุณภาพดี

คลิกโหลดไฟล์คู่มือและแบบฝึกหัดได้ที่นี่
(เลื่อนลงไปล่างสุด แล้วโหลดแบบฝึกหัด MIKE Hydro River)