วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การเตรียม 2D distributed rainfall ด้วยข้อมูลฝนรายสถานี

ขั้นตอนด้านล่าง แนะนำวิธีการเตรียมข้อมูลฝน 2 มิติที่เปลี่ยนแปลงตามเวลา
2D Distributed rainfall (ไฟล์ dfs2)
ด้วยการใช้ข้อมูลฝนจากสถานีตรวจวัดต่างๆในบริเวณนั้น (ไฟล์ dfs0)

โดยใช้เครื่องมือ MIKE SHE Tool box ใน MIKE Zero


มีขั้นตอนดังด้านล่าง

1) เตรียมไฟล์ Grid.dfs2 ซึ่งต้องมี EUM Type เป็น Grid Codes และมี Unit เป็น Integer โดยตัวเลขในกริดจะเป็นตัวแทนรหัสสถานีฝนที่ตรงกับ Item name ในไฟล์ข้อมูลฝน ดังนั้น การสร้าง Grid.dfs2 จึงต้องรู้ตำแหน่งสถานีแต่ละสถานีว่าอยู่ตำแหน่งใดในกริด เพื่อนำเลขรหัสสถานีฝนไปกรอกไว้ที่กริดนั้น
และให้เว้นว่างกริดที่เหลือที่ไม่ตรงกับตำแหน่งของสถานีไว้


2) เตรียมไฟล์ Rain.dfs0 ซึ่งเป็นไฟล์ข้อมูลฝนที่สถานีต่าง โดยมี ItemName เป็นรหัสสถานี ตรงกับที่เตรียมไว้ในไฟล์ Grid.dfs2 และให้มี Type เป็น Precipitation Rate และ TS Type เป็น Step Accumulated


3) เปิดโปรแกรม MIKE Zero แล้วสร้างไฟล์ใหม่ เลือกสร้างไฟล์ MIKE SHE / MIKE SHE Toolbox จากนั้นใช้เครื่องมือ File Converter โดยขั้นตอนภายในเป็นการเลือกไฟล์ Rain.dfs0, Grid.dfs2 และ ตั้งชื่อ output file โดยตัวอย่างนี้ให้ชื่อ Rain.dfs2




 4) ผลที่ได้จากเครื่องมือในข้อ 3 เมื่อเปิดตรวจสอบ จะได้ข้อมูลฝนรายสถานีที่กรอกลงในไฟล์ Rain.dfs2 ตามตำแหน่งของสถานีฝน (ตำแหน่งตามรหัสใน Grid.dfs2) โดยมีข้อมูลที่ timestep ต่างๆตรงกับข้อมูลฝนใน Rain.dfs0 (ตัวอย่างนี้ทำไว้เพียง 3 timestep)


5) จากนั้นให้ใช้เครื่องมือช่วยในการ interpolate โดยเลือกเมนู Tools/Interpolation...


6) ตรวจสอบใน Sub-Set ว่าได้เลือกทุก time steps และเลือก Entire set of grid points


7) ในส่วนของ Interpolation แนะนำให้ใช้แบบ Area integrated โดย Number of points ควร >2 (แทนจำนวนสถานีที่จะนำมาใช้ในการ Interpolate และกรอก Area side length ที่เหมาะสม (จำนวนกริด) ที่มั่นใจว่าในทุกตำแหน่งกริดว่างๆที่จะ interpolate ค่า จะสามารถหาค่าจากกริดข้างเคียงที่มีข้อมูลได้ในระยะห่างไม่เกินจำนวนกริดที่กำหนด โดยตัวอย่างนี้คือ 10 กริด




8) ตรวจสอบผลที่ได้จากการ Interpolate ถ้าได้ผลที่เหมาะสมให้ Save แต่ถ้าผลไม่ดี และต้องการ interpolate ใหม่ด้วยค่า number/length อื่นๆ ให้ปิดโดยไม่ save ไฟล์ แล้วเปิดไฟล์ขึ้นมาใหม่แทน เพราะการทำ interpolation จะไม่สามารถ Undo ได้


เท่านี้ก็จะทำให้ได้ไฟล์ข้อมูลฝนที่กระจายในพื้นที่แบบ 2 มิติ สำหรับนำไปใช้ในแบบจำลองที่ต้องการเช่น แบบจำลองน้ำท่วมในพื้นที่ 2 มิติ MIKE 21 และ MIKE 21 FM หรือแบบจำลองอุทกวิทยาน้ำ MIKE SHE ได้แล้ว

เทคนิคนี้ยังสามารถนำไปใช้ได้กับไฟล์ข้อมูลอื่นๆเช่น ข้อมูลการระเหยของน้ำเป็นต้น