วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดเพื่อการเริ่มใช้งานแบบจำลอง MIKE Flood

แบบจำลอง MIKEbyDHI เมื่อลงโปรแกรมเสร็จแล้ว
จะมีคู่มือการใช้งาน และตัวอย่างสำหรับฝึกหัดสร้างแบบจำลองมาให้ด้วย

โดยปกติแล้วหลังลงโปรแกรม จะมีคู่มืออยู่ที่
C:\Program Files (x86)\DHI\2012\MIKE Zero\Manuals

และมีไฟล์ตัวอย่างสำหรับฝึกหัดไปคู่กับการแนะนำในคู่มือ อยู่ที่
C:\Program Files (x86)\DHI\2012\MIKE Zero\Examples

อย่างไรก็ตาม คู่มือ ทั้งหมดที่มากับโปรแกรม เขียนมาเป็นภาษาอังกฤษ

บางครั้งทำให้ผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษไม่คล่องจะมีปัญหาทำให้ไม่เข้าใจคู่มือ

ในวันนี้ได้นำเสนอคู่มือ และไฟล์ตัวอย่าง ที่ได้มีการแปลไว้เป็นภาษาไทย

สำหรับฝึกหัดใช้แบบจำลองการไหลแบบผสาน 1 และ 2 มิติด้วยแบบจำลอง MIKE Flood

ทั้งนี้แบบจำลอง MIKE Flood เป็นแบบจำลองที่ผสานแบบจำลอง MIKE 11 และ MIKE 21 เข้าด้วยกัน

เพื่อเป็นการลดข้อจำกัดที่เกิดจากการใช้แบบจำลองอย่างใดอย่างหนึ่งในการศึกษาปัญหาอุทกภัย

ตัวอย่างนี้มีคู่มือภาษาไทย อธิบายขั้นตอนต่างๆในการจัดทำแบบจำลองเฉพาะ MIKE Flood
ผู้ที่จะฝึกหัดตามคู่มือนี้ควรเรียนรู้การจัดทำแบบจำลอง MIKE 11 มาก่อน



หวังว่าจะช่วยให้ผู้ที่เริ่มหัดใช้งานแบบจำลอง MIKE Flood จะสามารถเข้าใจแบบฝึกหัดได้ง่ายขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การส่งออกพิกัดตลิ่งซ้าย ขวา ของลำน้ำใน MIKE11 ด้วยการใช้ MIKE Flood

ในแบบจำลอง MIKE11 เมื่อสร้าง Network และ Cross-section เสร็จแล้ว

เปิดพร้อมกันผ่าน Simulation จะสามารถแสดงตำแหน่งของ Cross-section ที่ระยะต่างๆของลำน้ำ

(update 7 Feb 2022) ในแบบจำลองรุ่นใหม่ MIKE Hydro River ที่มาแทน MIKE 11
จะมีตัวช่วยในการนำเข้า-ส่งออกข้อมูลของแบบจำลองกับไฟล์ SHP ได้ (ดูตัวอย่างรูปท้ายสุด)



โดยอิงตามพิกัดที่อยู่บน Network โดยการวางตำแหน่งหน้าตัดลำน้ำนั้น จะมีสองแบบคือ

1) หากไม่มีการกรอกค่าพิกัดของหน้าตัดลำน้ำไว้แล้ว แบบจำลองจะวางหน้าตัดลำน้ำ

ให้ตั้งฉากกับเส้นลำน้ำ และจุดที่มีระดับน้ำต่ำสุดจะอยู่ตรงกับเส้นแนวลำน้ำ

รูปนี้ จะเห็นว่าจุดกลางหน้าตัด (ระดับต่ำสุด) อยู่เบ้ไปทางขวา (รูปบน) เมื่อวาดไปบน Network (รูปล่าง) ตำแหน่งของระดับน้ำสุด จะวาดไปที่กลางแนวลำน้ำ (รูปนี้ต้ำน้ำไหลจาก บนลงล่าง)



2) ส่วนกรณีที่มีการกรอกพิกัดตลิ่งซ้าย และ ขวาของหน้าตัดลำน้ำไว้

การวาดรูปหน้าตัดลำน้ำ ก็จะอิงตามพิกัดที่กรอกไว้เป็นหลัก

รูปด้านล่างนี้ จะเห็นว่ามีส่วนที่สามารถกรอกค่า Coordinates เพิ่มเติมได้ หากมีข้อมูล



ในกรณีที่เรามีค่าพิกัดตลิ่งซ้าย หรือ ขวาของลำน้ำอยู่แล้ว คงไม่ใช่เรื่องยากที่จะจัดเรียงข้อมูลเหล่านั้น

แล้วเอาไปใช้ใน GIS เพื่อสร้างเส้นที่เป็นแนวของตลิ่งลำน้ำขึ้นได้

แต่กรณีที่ไม่มีพิกัดตลิ่งจากการสำรวจ (ผู้สำรวจไม่ได้บันทึกค่านี้ไว้ด้วย)

จะเห็นว่า แบบจำลองก็ยังสามารถวาด และวางตำแหน่งของหน้าตัดลำน้ำขึ้นมาได้ใน Network

และในกรณีที่เราต้องการพิกัดของตลิ่งซ้าย และ ขวา เพื่อนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่นการใช้ใน GIS

ในแบบจำลอง MIKE11 เอง ยังไม่มีเครื่องมือช่วยในการส่งออกข้อมูลนี้โดยตรง

แต่จะมีเทคนิค ในการส่งออกข้อมูลนี้ดังนี้

1) จัดเตรียมแบบจำลอง MIKE11 ให้เรียบร้อย

2) จัดเตรียมแบบจำลอง MIKE21 FM (แนะนำให้ใช้ FM เพราะหากใช้กริดสี่เหลี่ยม จะมองไม่เห็น Chainage ในขั้นตอนที่ 7) ให้มีพื้นที่ศึกษา คลุมพื้นที่ Network ที่เราต้องการพิกัดของตลิ่ง

3) ผสานแบบจำลองเป็น MIKE Flood โดยเลือกใช้ไฟล์ MIKE11 และ MIKE21FM ที่สร้างไว้แล้ว

4) สร้าง Lateral Link ใน MIKE Flood สำหรับเส้นลำน้ำ ที่ต้องการค่าพิกัดของตลิ่ง โดยสามารถเลือกสร้าง Link โดยอิ่งตาม ตลิ่งซ้าย หรือ ขวา ได้ตามต้องการ

5) เมื่อสร้าง Link แล้ว ให้สั่งรันแบบจำลอง MIKE Flood หนึ่งครั้ง (ไม่จำเป็นต้องรอให้รันเสร็จ)

6) ที่ Folder เดียวกับที่จัดเก็บไฟล์ sim11 ไว้ จะมีการสร้งาไฟล์ใหม่ชื่อ MFLateral.xns11 ซึ่งจะเก็บค่าระยะทางตามลำน้ำ (ค่าอยู่ใน column X) และระดับของตลิ่งไว้ (ค่าอยู่ใน column Z)โดยไฟล์นี้จะแยกเก็บค่าระดับตลิ่งจาก Cross-section ของ MIKE11 และ DEM ของ MIKE21 ไว้แยกกัน

7) ที่ MIKE Flood หลังจากที่สร้าง Link เสร็จแล้ว จะมีตารางแสดงพิกัด X Y Chainage โดยจำนวนค่านี้ ขึ้นกับความละเอียดของจุดบนเส้นลำน้ำ ดังนั้นจึงมีจำนวน มากกว่าจำนวนหน้าตัดลำน้ำ


8) copy ค่าในตารางจากทั้งข้อ 6) และ ข้อ 7) ไปไว้ที่ Excel จะพบว่า หากเราสามารถหาค่า X, Y ของ หน้าตัดลำน้ำนั้นๆได้ โดยมีตัวเชื่อมคือ Chainage ซึ่งจำเป็นต้อง Interpolate เพื่อให้ได้ค่าที่แม่นยำอีกที

สำหรับขั้นตอนการสร้าง M21, M11, MFlood และ Lateral Link ขอให้ศึกษาเอาจากคู่มือนะครับ เพราะอธิบายในหน้านี้ จะยาวมาก

รวมถึงการ Matching, และทำ Interpolate ใน Excel ก็มีคนลงวิธีการทำใน Internet อยู่แล้ว ดังนั้นคงไม่ยากที่จะ search วีธีการแล้วมาประยุกต์ใช้กับตาราง excel ข้างบน เพื่อให้ได้ค่าพิกัดของตลิ่ง ของแต่ละหน้าตัดลำน้ำ พร้อมค่าระดับตลิ่ง

กรณีที่อัพเดทตัวแบบจำลอง MIKE 11 มาใช้งาน MIKE Hydro River 
จะมีเครื่องมือสำหรับการนำเข้า- ส่งออกไฟล์แบบจำลองกับ SHP ได้ภายในโปรแกรม
ดังตัวอย่างรูปด้านล่าง



วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ค่าระดับท้องน้ำ (Bottom Level) และตลิ่ง (Bank Level) จากแบบจำลอง M11

สำหรับผู้ใช้แบบจำลอง MIKE 11 ข้อมูลค่าระดับของหน้าตัดลำน้ำ
เป็นข้อมูลที่ต้องป้อนเข้าแบบจำลอง

วันนี้จะแนะนำเทคนิคในการ ส่งออกค่าระดับต่างๆที่เราป้อนเข้าไปในแต่ละหน้าตัด โดยอิงตามระยะทางตามลำน้ำ

ค่าระดับต่างๆในหน้าตัดลำน้ำที่กล่าวถึงข้างต้น อาจประกอบด้วย ระดับท้องน้ำ ระดับตลิ่งซ้าย-ขวา และระดับของ Marker อื่นๆที่เราใส่ไว้ในแบบจำลอง

การส่งออกค่าต่างๆ อิงตามระยะทางตามลำน้ำ (Chainage) นั้นสามารถทำได้โดยใช้โปรแกรม
MIKE View ซึ่งเป็นโปแกรมฟรี สำหรับการเปิดดูผลคำนวณของ MIKE 11

เบื้องต้น ให้เปิดผลคำนวณของ โครงการที่ต้องการค่าระดับต่างๆของหน้าตัดลำน้ำขึ้นมา
จากนั้นสร้างกราฟ Profile ของลำน้ำเป้าหมาย ด้วยเครื่องมือ

จากนั้นคลิกขวาที่กราฟ Profile ที่ได้มา แล้วเลือก Option

แล้วเลือกหน้า Tabular Items จากนั้นเพิ่มข้อมูล ที่ต้องการตัวเลขทั้งหมดลงไป



รูปด้านล่างนี้ แสดงให้เห็นค่า Static และ Dynamic ที่เราสามารถดึงออกมาเป็นตัวเลขได้



เมื่อเพิ่ม Tabular Items ที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว ให้กลับออกมาที่กราฟ Profile


แล้วคลิกขวาที่รูปเลือก Metafile และเลือก Tab View To Clipboard


ค่าระดับทั้งหมดที่เราได้เลือกไว้ใน Tabular Items ในหน้าต่าง Option จะถูกเก็บไว้ใน Clipboard ซึ่งพร้อมที่จะให้เราไป Paste ไว้ในเอกสารที่ต้องการ

ตัวอย่างเมื่อไป Paste ที่ Excel



จากรูปตัวอย่าง จะเห็นว่า เราสามารถส่งออกค่า ระยะทางตามลำน้ำ ระดับตลิ่งซ้าย-ขวา รวมถึงระดับน้ำที่เวลาต่างๆได้ด้วย

รูปตัวอย่าง เป็นการส่งออกค่าระดับน้ำที่เวลาต่างกัน จะเห็นว่าค่า Water Level จะไม่เท่ากัน ขึ้นกับว่าเรา Play ค่าระดับน้ำในกราฟ Profile ไว้ที่ Timestep ใด

วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดเพื่อการเริ่มใช้งานแบบจำลอง MIKE11 Hydrodynamic และ Rainfall Runoff

แบบจำลอง MIKEbyDHI เมื่อลงโปรแกรมเสร็จแล้ว
จะมีคู่มือการใช้งาน และตัวอย่างสำหรับฝึกหัดสร้างแบบจำลองมาให้ด้วย

โดยปกติแล้วหลังลงโปรแกรม จะมีคู่มืออยู่ที่
C:\Program Files (x86)\DHI\2012\MIKE Zero\Manuals

และมีไฟล์ตัวอย่างสำหรับฝึกหัดไปคู่กับการแนะนำในคู่มือ อยู่ที่
C:\Program Files (x86)\DHI\2012\MIKE Zero\Examples

อย่างไรก็ตาม คู่มือ ทั้งหมดที่มากับโปรแกรม เขียนมาเป็นภาษาอังกฤษ

บางครั้งทำให้ผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษไม่คล่องจะมีปัญหาทำให้ไม่เข้าใจคู่มือ

ในวันนี้ได้นำเสนอคู่มือ และไฟล์ตัวอย่าง ที่ได้มีการแปลไว้เป็นภาษาไทย

สำหรับฝึกหัดใช้แบบจำลองการไหลแบบ 1 มิติด้วยแบบจำลอง MIKE 11



โดยเป็นแบบจำลองที่คลอบคลุมงานด้าน น้ำฝน-น้ำท่า (Rainfall-Runoff)




และแบบจำลองด้านชลศาสตร์การไหล (Hydrodynamic)



หวังว่าจะช่วยให้ผู้ที่เริ่มหัดใช้งานแบบจำลอง MIKE 11 จะสามารถเข้าใจแบบฝึกหัดได้ง่ายขึ้น