แบบจำลอง MIKEbyDHI
Blog นี้ได้รวบรวมเทคนิคต่างๆในการใช้งานแบบจำลอง MIKEbyDHI รวมถึงแบ่งปันประสบการณ์ เพื่อเผยแพร่เทคนิคการใช้งานแบบจำลอง MIKE เป็นภาษาไทยเป็นหลัก
วันพุธที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
Seminar on Flood Risk Management during Crisis due to Climate Change by KMUTNB and DHI (June 2023)
วันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2566
การทำ Loop Flow ใน MIKE Hydro Basin
ในบทความนี้จะนำเสนอการตั้งค่าแบบจำลอง MIKE Hydro Basin ให้สามารถจำลองการไหลแบบ Loop ได้
เป็นที่รู้กันว่าแบบจำลอง MHB เป็นแบบจำลองที่จำลองการไหลทางเดียว
และเมื่อไหร่ก็ตามที่มีการสร้างลำน้ำที่มีลักษณะเป็นการไหลวนเป็น Loop แบบจำลองจะฟ้อง Error
ซึ่งตรงนี้เป็นข้อจำกัดของแบบจำลอง MHB หรือ สมดุลน้ำทั่วไป
ในอดีตกรณีที่ต้องการจำลองการไหลวนใน MHB จะมีการแนะนำให้ใช้ Water User
ในการดึงน้ำออกจากท้ายน้ำและส่งคืนน้ำเข้าที่ต้นน้ำ โดยทำคู่ไปกับการใช้ Script
เข้ามาควบคุมปริมาณน้ำทึ่ดึงออกและส่งคืนให้เท่ากัน
จะเห็นว่าส่วนที่ยากในการทำงานข้างต้นคือการเขียน Scriptเข้ามาควบคุม
อย่างไรก็ตามในแบบจำลอง MHB version ตั้งแต่ 2022 เป็นต้นมา ได้มี feature เพิ่มเติม
โดยมี Control Rule เพิ่มเข้ามา ทำให้การตั้งค่าการไหลวนข้างต้น ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการเขียน Script อีกต่อไป
รูปด้านล่าง เป็นตัวอย่างการตั้งค่าแบบจำลองอย่างง่าย เพื่อทดสอบการตั้งค่า ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น
- ลำน้ำ 1 เส้น
- อ่างเก็บน้ำ ใช้ค่า Default ทั้งหมด โดยจะมีระดับเก็บน้ำระหว่าง 534-540 ม. และเริ่มต้นที่ 540
- Water user 1 ทำการบังคับการระบายน้ำของอ่างเก็บน้ำที่ 10 cms
- Water user 2 เป็นตัวส่งน้ำคืนไปทางเหนืออ่างเก็บน้ำ ควบคุมให้มีค่า 0 cms หากระดับน้ำในอ่างสูงกว่า 539 ม. และมีค่า 10 cms เมื่อระดับน้ำในอ่างต่ำกว่า 538 ม.
- Water user 3 เป็นตัวดึงน้ำออกจากท้ายน้ำของอ่าง ตั้งค่าสอดคล้องกับ Water user 2 โดยหากระดับน้ำในอ่างสูงกว่า 539 จะดึงน้ำออก 0 cms และหากระดับน้ำต่ำกว่า 538 จะดึงน้ำออก 10 cms
จาก Water user 2 และ 3 จะเห็นว่าเป็นคู่ Water user ที่ถูกเพิ่มเข้ามา เพื่อจำลองการไหลวนของน้ำในระบบ เทียบได้กับการสูบน้ำกลับ โดยตัวอย่างนี้ ตั้งค่าให้เริ่มมีการสูบจากท้ายน้ำกลับไปยังต้นน้ำที่อัตรา 10 cms เมื่อระดับน้ำในอ่างน้อยกว่า 538 เมตร
อย่างไรก็ตาม ปริมาณการสูบน้ำที่จะเกิดขึ้นได้จริง อาจไม่เท่ากับที่ตั้งค่า ทั้งนี้ขึ้นกับปริมาณน้ำที่มีในช่วงเวลาต่างๆด้วย แต่หากมีน้ำเพียงพอ การสูบน้ำจะเป็นไปตามที่ตั้งค่า
รูปด้านล่าง แสดงการตั้งค่า Sensor เพื่อตรวจสอบระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำ สำหรับใช้กับ Coltrol rule
รูปด้านล่างแสดงตัวอย่างการตั้งค่าใน Control rule สำหรับ Water User 2 ซึ่งเป็นจุดส่งน้ำคืนไปต้นน้ำ โดยจะมี 2 เกณฑ์ คือกรณีระดับน้ำสูงกว่า 539 และต่ำกว่า 538
ส่วนรูปด้านล่าง แสดงผลคำนวณ ซึ่งในกรณีที่ช่วงแรก Return Flow (เส้นน้ำเงิน) มีแค่แค่ 5 cms เกิดจากความตั้งใจในการทดสอบค่า Water demand ของ Return Flow ว่าหากมีการกำหนดค่าที่น้อยกว่า Retrun Flow ของจุดนั้น จะส่งผลอย่างไร และพบว่า แม้ Control จะกำหนดให้ส่งน้ำคืน 10 cms แต่ด้วยน้ำไม่พอ การคำนวณก็ให้ค่าเท่ากับปริมาณน้ำที่มีเท่านั้น ซึ่งถือว่าถูกต้อง
สุดท้ายสำหรับผู้ที่สนใจสามารถ Download ไฟล์ Model Setup ที่ใช้ทดสอบการคำนวณนี้
ไปดูตัวอย่างการตั้งค่านี้ได้
วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2565
DHI Thailand User Group Meeting 2022 แลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้และนวัตกรรมด้านทรัพยากรน้ำ รับมือความท้าทายสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
DHI Thailand User Group Meeting 2022
ในปีนี้ DHI และ สสน. ได้ร่วมกันจัดประชุมในวันที่
28 - 29 มิถุนายน 2565
โดยเป็นการจัดประชุมแบบผสมทั้งการประชุมแบบเข้าร่วมที่ รร รามาการ์เดนส์
และการเข้าร่วมประชุมแบบ online ผ่าน Zoom application รวมถึง
การถ่ายทอดการประชุมผ่านสื่อ online ทาง Facebook
รับชมวีดีโอบันทึกการบรรยายในงานสัมมนา
ในการประชุมครั้งนี้ได้เชิญผู้เข้าร่วมบรรยายหลากหลากหลาย
ที่มีประสบการณ์ในด้านต่างๆ ทั้งชาวไทยและต่างชาติมาร่วมบรรยาย
โดยภาพรวมของการบรรยายมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรน้ำ
ที่สอดคล้องกับการแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน
รูปหมู่จากในงานสัมมนา
การบรรยายในงานสัมมนา และไฟล์ประกอบการบรรยายประกอบไปด้วย
(กรณีที่ผู้บรรยายอนุญาติให้เผยแพร่ได้) จะมี link ให้โหลดไฟล์
กล่าวเปิดงาน โดย Project Director Nordic, Marine & Coastal, DHI
บรรยายพิเศษ หัวข้อ ความสำเร็จของการพัฒนาที่ยั่งยืนจากประสบการณ์และมุมมองของสสน.
โดย ดร. สุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)
DSS (operational and planning) Climate resilience in global, regional scale and Thailand
โดย Mr. Oluf Zeilund Jessen, รองประธานฝ่ายพัฒนาระหว่างประเทศ DHI เดนมาร์ก
โดย นายอัตถพงษ์ ฉันทานุมัติ ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนแม่บท สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
โดย นายสถิตย์ จันทร์ทิพย์ นักพัฒนาแบบจำลอง สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)
Early warning system forecasts river plastic flows to oceans
the Global Partnership on Marine Litter (GPML)
โดย Nicola Balbarini, Head of Water Resources Operations • International Development – DHI Denmark
วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2565
MIKE + (River) - แบบฝึกอบรมด้วยตนเอง สำหรับการจำลองการไหลในลำน้ำ เบื้องต้น
เนื้อหาในนี้จะแนะนำแบบจำลอง MIKE + ในส่วนของการใช้งานกับ River เป็นหลัก
เนื้อหาแบ่งเป็นสองส่วนคือส่วนต้นจะแนะนำแบบจำลอง MIKE + ก่อน และจะตามด้วยแบบฝึกหัดสำหรับการเริ่มใช้งาน MIKE +
ด้านล่างนี้เป็นการอธิบายถึงแบบจำลอง MIKE +
แบบจำลอง MIKE + ถือเป็นแบบจำลองที่พัฒนาขึ้นมาใหม่โดย DHI
โดยการพัฒนาขึ้นมาบนโปรแกรมใหม่ ชื่อ MIKE + แทนที่การใช้โปรแกรมเดิมคือ MIKE Zero
ทั้งนี้แบบจำลองใน MIKE + จะประกอบไปด้วยแบบจำลองการไหลแบบ 1 และ 2 มิติ เป็นหลัก
โดยแบบจำลอง 1 มิติ ได้รับการพัฒนาขึ้นมาแทนแบบจำลอง MIKE Urban, MIKE 11, MIKE Hydro River และ MIKE Flood
ทั้งนี้แบบจำลอง MIKE Urban และ MIKE 11 ถูกหยุดพัฒนาต่อเนื่อง และเลิกทำการตลาดไปแล้ว
ส่วน MIKE Hydro River และ MIKE Flood จะหยุดการพัฒนาและเลิกทำการตลาดในอนาคตต่อไป หลังจาก MIKE + มีการพัฒนาฟังก์ชั่นการทำงานได้สมบูรณ์แล้ว
โดยปัจจุบัน (version 2022 update1) MIKE + เหลือเพียงส่วนต่อยอดด้านการพัดพาตะกอนเท่านั้นที่รอการพัฒนาเพิ่มเติม คาดการว่าจะเสร็จในปี 2023
ดูวีดีโอ แนะนำ MIKE + รวมถึงการเปลี่ยนผ่านจาก MIKE 11 และ MIKE Hydro River มาสู่ MIKE +
ส่วนนี้ขอแนะนำแบบฝึกอบรมด้วยตนเองในรูปแบบ Self-Pace Course
ของ The Academy by DHI รูปแบบการฝึกอบรมด้วยตนเองเลขที่ 634
https://training.theacademybydhi.com/cstart/course/634
ทั้งนี้โดยให้ลงทะเบียนเป็นผู้รับการฝึกอบรมก่อนที่
https://training.theacademybydhi.com/start/op/signup
หลังจากนั้นจึงเลือกคอร์สการฝึกอบรมที่ 634 ตามที่ให้ link ไว้ข้างต้น
พื้นที่ศึกษาที่ใช้เป็นตัวอย่างในการฝึกอบรมเป็นแม่น้ำ Sesupe ส่วนที่อยู่ในประเทศลิทัวเนีย
ทั้งนี้ไฟล์ข้อมูลและตัวอย่างสำหรับการฝึกอบรมให้โหลดจาก Self-Pace Course
ที่แนะนำให้ลงทะเบียนไว้สำหรับคอร์ส 634
โดยเมื่อดำเนินการเรียนรู้ไปตามขั้นตอนต่างๆ
จะมีทั้งวีดีโอนำเสนอความรู้พื้นฐาน สอนการทำแบบจำลองในภาพรวม
และให้ link สำหรับการโหลดข้อมูลเพื่อทำแบบฝึกหัด
และวีดีโอสอนการทำแบบฝึกหัดแบบทีละขั้นตอน
การฝึกอบรมนี้แบ่งออกเป็น 5 Module
และมีการแนะนำวิธีการตั้งค่า VDO และการติดตั้งโปรแกรมแบบจำลองไว้ด้วย
Module ทั้ง 5 ประกอบด้วย
Module 1 – ขั้นตอนเริ่มต้น
การสร้าง project
ใหม่, ทำความเข้าใจ user interface และการซ้อนภาพพื้นหลัง
Module 2 –
ชลศาสตร์ (การคำนวณไหล)
การสร้างเส้นลำน้ำ,
นำเข้าข้อมูลหน้าตัดลำน้ำ, ตั้งค่าฝายและกำหนดข้อมูลขอบเขต
Module 3 –
อุทกศาสตร์ (การคำนวณ น้ำฝน-น้ำท่า)
สร้างลุ่มน้ำย่อย,
ตั้งค่าแบบจำลองน้ำฝนน้ำท่า และ การเชื่อมโยงกับลำน้ำ
Module 4 –
การรันแบบจำลอง
ตั้งค่าการเก็บผลคำนวณ,
การสอบทานแบบจำลอง, กำหนดค่าพารามิเตอร์สำหรับการคำนวณ
และการรันแบบจำลอง
Module 5 –
ผลของแบบจำลอง
ตรวจสอบผลที่ได้จากแบบจำลอง
และทำความเข้าใจ log ไฟล์
อย่างไรก็ตาม ได้มีการถอดขั้นตอนการฝึกอบรม
สรุปออกมาเป็นคู่มือประกอบการฝึกอบรม
ให้ download ได้จาก link นี้
สำหรับผู้สนใจสามารถติดตาม
วีดีโอแนะนำการใช้งาน Self-pace ในการฝึกอบรมการใช้งาน MIKE+
ที่ได้ดำเนินการกันไปในวันที่ 29 มิถุนายน 2565 ผ่านระบบ Zoom และในห้องประชุม
วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564
การโหลดข้อมูลสภาพอากาศและทะเล MetOcean จากเว็บให้บริการข้อมูลของ DHI
วันนี้ขอเสนอเว็บไซด์ของ DHI ที่ให้บริการข้อมูล
สภาพอากาศ และ ทะเล
โดยภายในเว็บนี้จะมีข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการทำแบบจำลองทางทะเลได้มากมาย
โดยมีข้อมูลที่ให้บริการโดยมีค่าใช้จ่าย และ บางข้อมูลก็สามารถโหลดมาใช้งานได้ฟรี
โดยตัวอย่างวันนี้จะแสดงการโหลดข้อมูลสภาพอากาศ (ฟรี) เป็นตัวอย่างการใช้งาน
เริ่มต้นให้เข้าเว็บไซด์
https://www.metocean-on-demand.com/#/main
แล้วลงทะเบียน เพื่อให้มี Account ให้เรียบร้อย การลงทะเบียนก็เพียงกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนเท่านั้น
(ผมจะข้ามขั้นตอนนี้)
จากนั้นเมื่อเข้าเวบ พร้อมกับ login เรียบร้อยแล้ว และซูมมาบริเวณอ่าวไทย จะได้ดังรูป