วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2568

DHI CONFERENCE DAY 2025

งานสัมมนาโดย DHI ประจำปี 2568

DHI CONFERENCE DAY 2025

ความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการน้ำ:  

รับมือความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยด้วยแบบจำลอง ‘MIKE Powered by DHI’




วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม 2568 (8:30-16:30)

ที่

ห้องประชุมโบทานิค

ชั้น 5 โรงแรมเบสท์ เวสเทิร์น จตุจักร

คลิกเพื่อดูตำแหน่ง โรงแรมใน google map


กำหนดการ

08:30 - 09:00 น. - ลงทะเบียนเข้างาน

09:05 - 09:30 น. - พิธีเปิดและปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ การจัดการน้ำด้วยนวัตกรรม: เสริมสร้างความยืดหยุ่นต่อสภาพอากาศเพื่ออนาคตประเทศไทย โดย ดร.รอยบุญ รัศมีเทศ ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)

09:30 - 10:00 น. - โซลูชั่นดิจิทัลสำหรับความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศที่ทรัพยากรน้ำของไทยกำลังเผชิญ โดย Mr. Oluf Zeilund Jessen

10:00 - 10:15 น. - พักรับประทานกาแฟและแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้ร่วมงาน

10:15 - 10:45 น. - ปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ Sustain the Port, Drive the Future: พลิกเกมโลจิสติกส์ไทย โดย เรือโทภัทรวุฒิ กนกวรรณากร ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ การท่าเรือแห่งประเทศไทย

10:45 - 11:15 น. - การบรรเทาภัยคุกคามต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทย โดย Mr. Jesper Dørge 

11:15 - 11:45 น. – การนำเสนอจากผู้ใช้งานแบบจำลองทางทะเลและชายฝั่ง โดย ดร.สมฤทัย ทศสะดวก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

11:45 - 13:00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน 

13:00 - 13:45 น. - การนำเสนอผลิตภัณฑ์ แบบจำลองด้านพลังงานและแหล่งน้ำ โดย Mr. Mark Britton 

13:45 - 14:30 น. - การนำเสนอผลิตภัณฑ์และสาธิตการใช้งานแบบจำลองน้ำในเมือง โดย Mr. Morten Just Kjoelby 

14:30 - 14:45 น. - พักรับประทานกาแฟและแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้ร่วมงาน 

14:45 - 15:15 น. - การนำเสนอจากผู้ใช้งานแบบจำลองทรัพยากรน้ำ โดย ดร ทัศน์เกียรติ มีมา วิศวกรอาวุโสด้านทรัพยากรน้ำ จาก บริษัท TEAM Consulting Engineering and Management PCL. 

15:15 - 16:15 น. - การนำเสนอผลิตภัณฑ์ แบบจำลองทางทะเลและชายฝั่ง โดย Mr. Stephen J Flood

16:15 - 16:30 น. - สรุปการประชุม - ปิดงานและก้าวต่อไปของเรา โดย Ms. Tran Thi Hong Hanh


ผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

คลิกเพื่อลงทะเบียน





เอกสารประกอบการประชุม จะอัพเดทเพิ่มเติมด้านล่างนี้
**************************************************************************

**************************************************************************

วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2568

DHI License Management with Internet License

การจัดการ Internet License

รอบนี้เป็นส่วนของวิธีการลบ Internet License ที่เคยกรอกไว้ใน PC

กรณีที่เคยกรอก DHI Internet License ไว้ใน PC บางเครื่องเพื่อทำการทดสอบต่างๆ
แล้วต่อมาภายหลังต้องการนำ login ที่เคยกรอกนั้นไว้ออก จะพบว่าไม่มีปุ่มหรือฟังชั่นให้ลบ

กรณีนี้ให้ใช้ Windows Registry Editor
(พิมพ์ regedit) ในช่องค้นหา

เมื่อเปิดได้แล้วให้ไปที่
Computer\HKEY_CURRENT_USER\Software\DHI\LicenseAdmin\6.0\InternetUser



ทำการลบ user account ที่ต้องการลบออกไป (คลิกขวาแล้วเลือก Delete)

หมายเหตุ ท่านจะเห็นรายการ User ทั้ง Default, MRU1, MRU2...
ถ้ามีหลาย User จะมี MRU ตามด้วยตัวเลขเรียงกันไป
เมื่อลบ MRU ที่ไม่ต้องการแล้ว ควรตรวจสอบด้วยการ
เปิดโปรแกรม DHI License Management เพื่อตรวจสอบ

แต่หากมีเพียง 1 user ที่เคยกรอกไว้
อาจติดปัญหาลบออกไม่ได้

แนะนำให้แก้ไขได้สอบแบบดังนี้
1) ลบ Data ของ MRU1 ให้เป็นชื่ออื่น หรือลบแต่ Data ไม่ลบทั้ง Record
หรือ
2) ทำการเพิ่ม login หลอกเข้าไป ซึ่งตอนกรอก ระบบจะแจ้งว่า login ใช้ไม่ได้ จะใช้หรือไม่
ให้ยืนยันใช้งาน และเมื่อกลับมาที่ registry จะพบ MRU2 
ก็จะสามารถลบ MRU1 ออกได้ตามขั้นตอนข้างต้นแล้ว

วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2568

Forecast Thailand Hydrological

 รอบนี้เป็นส่วนของการทดลองทำระบบพยากรณ์

ทางอุทกวิทยา สำหรับพื้นที่ทั้งประเทศไทย

ภาพรวมคือการใช้แบบจำลอง MIKE SHE ในการคำนวณด้านอุทกวิทยา

ด้วยข้อมูลพยากรณ์อากาศ GFS ทั้งหมดจาก NCEP NOAA


ตั้งระบบทั้งหมดให้ทำงานอัตโนมัติ วันละครั้ง ราวๆ 4 โมงเย็น


ยังเป็นช่วงทดลอง เพื่อดูว่าระบบทำงานได้ครบทุกส่วน

ผลจากแบบจำลองยังไม่มีการปรับเทียบใดๆ และยังไม่ได้ปรับค่า initial condition ต่างๆ

โดยเฉพาะส่วนของน้ำใต้ดินต่างๆ ผลคำนวณน้ำท่าที่ได้จึงจะค่อนข้างน้อยผิดปกติอยู่บ้าง

****************************************************************

เวลาอัปเดตล่าสุด ดูจากด้านล่างนี้

****************************************************************

พยากรณ์จาก GFS (กริดประมาณ 27 กม. ข้อมูลราย 3 ชั่วโมง ล่วงหน้า 16 วัน) 

ผ่านระบบ Auto download แล้วจัดเตรียมเป็นไฟล์ DFS2 

แล้วแปลงเป็น GIF สำหรับเป็น Model Input มีดังนี้

ฝน (มม./วัน)                                                        การระเหย (มม./วัน)


****************************************************************
ความชื้นในดิน                                                        อุณหภูมิ (C)
****************************************************************
ความชื้นอากาศ (%)                                                       เมฆปกคลุม (%)
****************************************************************
ผลจากแบบจำลอง MIKE SHE กริด 2.5 กม.
น้ำท่าในรูปแบบความลึกน้ำ (ม.)                                  สัดส่วนน้ำในดิน (ไม่เกิน 0.3)
****************************************************
โครงข่ายลำน้ำในแบบจำลองแสดงดังรูปด้านล่าง
สามารถคลิกรูปเพื่อเปิดดูผลคำนวณ Maximum Discharge ในช่วงพยากรณ์



ส่วนอัตราการไหลที่ตำแหน่งต่างๆ คลิกที่รูปด้านล่างนี้
(ออโต้ ดาวโหลดไฟล์ข้อมูลขนาดประมาณ 600 mb)



****************************************************
ด้านล่างเป็นไฟล์แบบ MP4 สำหรับกรณีที่ต้องการหยุดภาพเพื่อตรวจสอบช่วงเวลาที่ต้องการ
vvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvv
ฝน (มม./วัน)                                                        การระเหย (มม./วัน)
==============================================
ความชื้นในดิน                                                        อุณหภูมิ (C)
==============================================
ความชื้นอากาศ (%)                                                       เมฆปกคลุม (%)
==============================================
ผลจากแบบจำลอง MIKE SHE กริด 2.5 กม.
น้ำท่าในรูปแบบความลึกน้ำ (ม.)                                  สัดส่วนน้ำในดิน (ไม่เกิน 0.3)
****************************************************

วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568

Forecast Thai Sea - Wind - Wave - Current

 ผลพยากรณ์ คลื่น และกระแสน้ำ ในทะเลไทย

เป็นระบบที่ทำงานอัตโนมัติ อัปเดตผลวันละครั้ง ประมาณ 4 โมงเย็น

มีขั้นตอนการทำงานโดยสรุปดังนี้

1) Download ข้อมูลลม GFS ที่ให้ผลพยากรณ์ลมล่วงหน้า 16 วัน และมี timestep 6 ชั่วโมง

2) ใช้แบบจำลอง MIKE 21 FM SW คำนวณคลื่นจากลม สำหรับฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน

3) ใช้แบบจำลอง MIKE 3 FM HD คำนวณการไหลเวียนของน้ำในทะเลแบบ 3 มิติ ซึ่งรวมการคำนวณอุณหภูมิน้ำด้วย

4) แปลงผลคำนวณเป็น GIF แล้วนำมาวางนำเสนอใน Blog นี้ (วางไฟล์บน Google Drive)


รายละเอียดอื่นๆ มีเพิ่มเติมต่อท้ายรูปแสดงผลพยากรณ์

****************************************************

เวลาอัปเดตล่าสุด ดูจากด้านล่างนี้


****************************************************

Forcing parameters ของแบบจำลอง

ลมระดับ 10 เมตรจากพื้นผิว และค่าแรงดันอากาศที่พื้นผิวจาก GFS


****************************************************

ต่อไปด้านล่างเป็นผลพยากรณ์จากแบบจำลองทังหมด

****************************************************

ผลพยากรณ์คลื่น


 ****************************************************

ผลพยากรณ์กระแสน้ำ ฝั่งอันดามันและอ่าวไทย

ที่ระดับผิวน้ำ


ค่าเฉลี่ยตลอดความลึกน้ำ (Depth Average)



****************************************************

ผลพยากรณ์อุณหภูมิน้ำ ฝั่งอันดามันและอ่าวไทย

ที่ระดับผิวน้ำ



ที่ระดับท้องน้ำ


****************************************************

ผลพยากรณ์ความเค็ม ฝั่งอันดามันและอ่าวไทย

ที่ระดับผิวน้ำ

ที่ระดับท้องน้ำ


****************************************************

ผลแสดงการพัดพาวัตถุลอยน้ำ ฝั่งอันดามันและอ่าวไทย

โดยส่วนหางเป็นเส้นทางใน 2 วันที่ผ่านมา ส่วนลูกศรดำแสดงกระแสลม


****************************************************
ด้านล่างเป็นไฟล์แบบ MP4 สำหรับกรณีที่ต้องการหยุดภาพเพื่อตรวจสอบช่วงเวลาที่ต้องการ
vvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvv
ลมระดับ 10 เมตรจากพื้นผิว และค่าแรงดันอากาศที่พื้นผิวจาก GFS
==============================================
ผลพยากรณ์คลื่น
==============================================
ผลพยากรณ์กระแสน้ำ ผิวน้ำ ฝั่งอันดามันและอ่าวไทย
==============================================
ผลพยากรณ์กระแสน้ำ Depth Average ฝั่งอันดามันและอ่าวไทย
==============================================
ผลพยากรณ์อุณหภูมิ ผิวน้ำ ฝั่งอันดามันและอ่าวไทย
==============================================
ผลพยากรณ์อุณหภูมิ ท้องน้ำ ฝั่งอันดามันและอ่าวไทย
==============================================
ผลพยากรณ์ค่าความเค็ม ผิวน้ำ ฝั่งอันดามันและอ่าวไทย
==============================================
ผลพยากรณ์ค่าความเค็ม ท้องน้ำ ฝั่งอันดามันและอ่าวไทย
==============================================
ผลแสดงการพัดพาวัตถุลอยน้ำ ฝั่งอันดามันและอ่าวไทย
โดยส่วนหางเป็นเส้นทางใน 2 วันที่ผ่านมา ส่วนลูกศรดำแสดงกระแสลม

****************************************************

ส่วนนี้เป็นระบบทดลอง ไม่มีการเก็บ history ใดๆไว้ จะเป็นการอัปเดตทับไฟล์เดิมทุกวัน

GFS ออกผลช้าประมาณ 5 ชั่วโมง กว่า (ผลที่เวลา 00:00 ของวัน จึงออกที่เวลา 05:00 ของวัน)

เมื่อเทียบเวลาไทยต้อง +7 ชั่วโมง จึงมีการตั้งระบบให้เริ่มงานเวลา 13:00 ของไทย


ระบบนี้รันแยก Spectrum Wave (2D) กับ Hydrodynamic (3D) แยกพื้นที่อ่าวไทยกับอันดามัน

 การรัน 4 model แบบละเอียดใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง

ปรับความละเอียดสำหรับระบบทดลอง ลดความละเอียดกริดให้รันได้เร็วขึ้น

โดยผลที่ได้ยังคงใกล้เคียงเดิม เหลือเวลาใช้รัน 4 model ประมาณ 1 ชั่วโมง


จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการ Export ผลคำนวณเป็นรูปและสร้าง GIF

แล้วอัปโหลดผลให้เปิดดูใน Blog นี้ได้ 

สรุปเวลาตั้งแต่เริ่มทำงานจนเสร็จทั้งหมด ดูได้จากเวลาอัปเดทต้น Blog เทียบกับเวลาเริ่มที่ 13:00


การอ้างอิงเวลาทั้งหมด จะใช้ UTC 0 ดังนั้นการอ่านผลถ้าเป็นเวลา 0:00 ก็คือ 7:00 เวลาไทย

ปัจจุบัน ระบบเพิ่งเริ่มรัน และทดสอบ ค่าเริ่มต้นเป็นค่าประมาณแบบคงที่ (เริ่มระบบตามวันที่อัพ Blog นี้)

แต่ระบบจะเก็บผลคำนวณไว้ใช้รันต่อเนื่องทุกวัน ดังนั้น ผลจะเริ่มปรับเข้าที่ในภายหลัง

โดยเฉพาะค่า อุณหภูมิน้ำ ที่จะใช้เวลานานพอสมควร

****************************************************