วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2568

Forecast Thailand Hydrological

 รอบนี้เป็นส่วนของการทดลองทำระบบพยากรณ์

ทางอุทกวิทยา สำหรับพื้นที่ทั้งประเทศไทย

ภาพรวมคือการใช้แบบจำลอง MIKE SHE ในการคำนวณด้านอุทกวิทยา

ด้วยข้อมูลพยากรณ์อากาศ GFS ทั้งหมดจาก NCEP NOAA


ตั้งระบบทั้งหมดให้ทำงานอัตโนมัติ วันละครั้ง ราวๆ 4 โมงเย็น


ยังเป็นช่วงทดลอง เพื่อดูว่าระบบทำงานได้ครบทุกส่วน

ผลจากแบบจำลองยังไม่มีการปรับเทียบใดๆ และยังไม่ได้ปรับค่า initial condition ต่างๆ

โดยเฉพาะส่วนของน้ำใต้ดินต่างๆ ผลคำนวณน้ำท่าที่ได้จึงจะค่อนข้างน้อยผิดปกติอยู่บ้าง

****************************************************************

เวลาอัปเดตล่าสุด ดูจากด้านล่างนี้

****************************************************************

พยากรณ์จาก GFS (กริดประมาณ 27 กม. ข้อมูลราย 3 ชั่วโมง ล่วงหน้า 16 วัน) 

ผ่านระบบ Auto download แล้วจัดเตรียมเป็นไฟล์ DFS2 

แล้วแปลงเป็น GIF สำหรับเป็น Model Input มีดังนี้

ฝน (มม./วัน)                                                        การระเหย (มม./วัน)


****************************************************************
ความชื้นในดิน                                                        อุณหภูมิ (C)
****************************************************************
ความชื้นอากาศ (%)                                                       เมฆปกคลุม (%)
****************************************************************
ผลจากแบบจำลอง MIKE SHE กริด 2.5 กม.
น้ำท่าในรูปแบบความลึกน้ำ (ม.)                                  สัดส่วนน้ำในดิน (ไม่เกิน 0.3)
****************************************************
โครงข่ายลำน้ำในแบบจำลองแสดงดังรูปด้านล่าง
สามารถคลิกรูปเพื่อเปิดดูผลคำนวณ Maximum Discharge ในช่วงพยากรณ์



ส่วนอัตราการไหลที่ตำแหน่งต่างๆ คลิกที่รูปด้านล่างนี้
(ออโต้ ดาวโหลดไฟล์ข้อมูลขนาดประมาณ 600 mb)



****************************************************
ด้านล่างเป็นไฟล์แบบ MP4 สำหรับกรณีที่ต้องการหยุดภาพเพื่อตรวจสอบช่วงเวลาที่ต้องการ
vvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvv
ฝน (มม./วัน)                                                        การระเหย (มม./วัน)
==============================================
ความชื้นในดิน                                                        อุณหภูมิ (C)
==============================================
ความชื้นอากาศ (%)                                                       เมฆปกคลุม (%)
==============================================
ผลจากแบบจำลอง MIKE SHE กริด 2.5 กม.
น้ำท่าในรูปแบบความลึกน้ำ (ม.)                                  สัดส่วนน้ำในดิน (ไม่เกิน 0.3)
****************************************************

วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568

Forecast Thai Sea - Wind - Wave - Current

 ผลพยากรณ์ คลื่น และกระแสน้ำ ในทะเลไทย

เป็นระบบที่ทำงานอัตโนมัติ อัปเดตผลวันละครั้ง ประมาณ 4 โมงเย็น

มีขั้นตอนการทำงานโดยสรุปดังนี้

1) Download ข้อมูลลม GFS ที่ให้ผลพยากรณ์ลมล่วงหน้า 16 วัน และมี timestep 6 ชั่วโมง

2) ใช้แบบจำลอง MIKE 21 FM SW คำนวณคลื่นจากลม สำหรับฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน

3) ใช้แบบจำลอง MIKE 3 FM HD คำนวณการไหลเวียนของน้ำในทะเลแบบ 3 มิติ ซึ่งรวมการคำนวณอุณหภูมิน้ำด้วย

4) แปลงผลคำนวณเป็น GIF แล้วนำมาวางนำเสนอใน Blog นี้ (วางไฟล์บน Google Drive)


รายละเอียดอื่นๆ มีเพิ่มเติมต่อท้ายรูปแสดงผลพยากรณ์

****************************************************

เวลาอัปเดตล่าสุด ดูจากด้านล่างนี้


****************************************************

Forcing parameters ของแบบจำลอง

ลมระดับ 10 เมตรจากพื้นผิว และค่าแรงดันอากาศที่พื้นผิวจาก GFS


****************************************************

ต่อไปด้านล่างเป็นผลพยากรณ์จากแบบจำลองทังหมด

****************************************************

ผลพยากรณ์คลื่น


 ****************************************************

ผลพยากรณ์กระแสน้ำ ฝั่งอันดามันและอ่าวไทย

ที่ระดับผิวน้ำ


ค่าเฉลี่ยตลอดความลึกน้ำ (Depth Average)



****************************************************

ผลพยากรณ์อุณหภูมิน้ำ ฝั่งอันดามันและอ่าวไทย

ที่ระดับผิวน้ำ



ที่ระดับท้องน้ำ


****************************************************

ผลแสดงการพัดพาวัตถุลอยน้ำ ฝั่งอันดามันและอ่าวไทย

โดยส่วนหางเป็นเส้นทางใน 2 วันที่ผ่านมา ส่วนลูกศรดำแสดงกระแสลม


****************************************************
ด้านล่างเป็นไฟล์แบบ MP4 สำหรับกรณีที่ต้องการหยุดภาพเพื่อตรวจสอบช่วงเวลาที่ต้องการ
vvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvv
ลมระดับ 10 เมตรจากพื้นผิว และค่าแรงดันอากาศที่พื้นผิวจาก GFS
==============================================
ผลพยากรณ์คลื่น
==============================================
ผลพยากรณ์กระแสน้ำ ผิวน้ำ ฝั่งอันดามันและอ่าวไทย
==============================================
ผลพยากรณ์กระแสน้ำ Depth Average ฝั่งอันดามันและอ่าวไทย
==============================================
ผลพยากรณ์อุณหภูมิ ผิวน้ำ ฝั่งอันดามันและอ่าวไทย
==============================================
ผลพยากรณ์อุณหภูมิ ท้องน้ำ ฝั่งอันดามันและอ่าวไทย
==============================================
ผลแสดงการพัดพาวัตถุลอยน้ำ ฝั่งอันดามันและอ่าวไทย
โดยส่วนหางเป็นเส้นทางใน 2 วันที่ผ่านมา ส่วนลูกศรดำแสดงกระแสลม

****************************************************

ส่วนนี้เป็นระบบทดลอง ไม่มีการเก็บ history ใดๆไว้ จะเป็นการอัปเดตทับไฟล์เดิมทุกวัน

GFS ออกผลช้าประมาณ 5 ชั่วโมง กว่า (ผลที่เวลา 00:00 ของวัน จึงออกที่เวลา 05:00 ของวัน)

เมื่อเทียบเวลาไทยต้อง +7 ชั่วโมง จึงมีการตั้งระบบให้เริ่มงานเวลา 13:00 ของไทย


ระบบนี้รันแยก Spectrum Wave (2D) กับ Hydrodynamic (3D) แยกพื้นที่อ่าวไทยกับอันดามัน

 การรัน 4 model แบบละเอียดใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง

ปรับความละเอียดสำหรับระบบทดลอง ลดความละเอียดกริดให้รันได้เร็วขึ้น

โดยผลที่ได้ยังคงใกล้เคียงเดิม เหลือเวลาใช้รัน 4 model ประมาณ 1 ชั่วโมง


จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการ Export ผลคำนวณเป็นรูปและสร้าง GIF

แล้วอัปโหลดผลให้เปิดดูใน Blog นี้ได้ 

สรุปเวลาตั้งแต่เริ่มทำงานจนเสร็จทั้งหมด ดูได้จากเวลาอัปเดทต้น Blog เทียบกับเวลาเริ่มที่ 13:00


การอ้างอิงเวลาทั้งหมด จะใช้ UTC 0 ดังนั้นการอ่านผลถ้าเป็นเวลา 0:00 ก็คือ 7:00 เวลาไทย

ปัจจุบัน ระบบเพิ่งเริ่มรัน และทดสอบ ค่าเริ่มต้นเป็นค่าประมาณแบบคงที่ (เริ่มระบบตามวันที่อัพ Blog นี้)

แต่ระบบจะเก็บผลคำนวณไว้ใช้รันต่อเนื่องทุกวัน ดังนั้น ผลจะเริ่มปรับเข้าที่ในภายหลัง

โดยเฉพาะค่า อุณหภูมิน้ำ ที่จะใช้เวลานานพอสมควร

****************************************************

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2567

แบบฝึกหัดการติดตั้งโปรแกรมแบบจำลอง MIKE และตั้งค่า MIKE Operations Web

Blog วันนี้นำเสนอ

แบบฝึกอบรมการติดตั้งโปรแกรมแบบจำลอง MIKE (MIKE Zero, MIKE+, MIKE Operations) และตั้งค่า MIKE Operations Web ด้วยแบบจำลอง MIKE+ River Flood และ MIKE 21 FM ตัวอย่างพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างและอ่าวไทยตอนบน



เป็นการฝึกอบรมที่จัดเตรียมไว้สำหรับงาน

DHI Anual Conference 2024

ในวันที่ 27 มิถุนายน 2567


โดยมีเนื้อหาหลักคือ

ฝึกอบรมแบบลงมือทำจริงกับกระบวนการทั้งหมดในการทำให้แบบจำลองทำงานใน MIKE Operations (ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับสร้างระบบอัตโนมัติในการจัดการข้อมูล แบบจำลอง และผลคำนวณ) และดูผลคำนวณได้ผ่านทาง Webpage โดยตรงด้วย MIKE Operation Web 2.0 ซึ่งทำออกมาเป็น Web API กึ่งสำเร็จรูปสำหรับการสร้างเว็บเพจระบบพยากรณ์น้ำด้วยแบบจำลองของ DHI

โดยใช้ตัวอย่าง 2 แบบจำลองที่จะนำเข้าใน MIKE Operations คือ 1) แบบจำลอง MIKE+ 1D River Flood ที่จัดเตรียมไว้แล้วด้วยพื้นที่ตัวอย่างคือแม่น้ำเจ้าพระยาจากบางไทรถึงปากแม่น้ำพร้อมกับจำลองการพังของตลิ่ง 2) แบบจำลอง MIKE 21 FM ที่จำลองการไหลในทะเลแบบ 2 มิติ ด้วยพื้นที่ตัวอย่างอ่าวไทยตอนบน (อ่าวไทยตัว ก.)

การเรียนรู้ในส่วนนี้จะเป็นการต่อยอดนักแบบจำลองด้านน้ำ ที่ไม่จำเป็นต้องอยู่แต่กับโปรแกรมแบบจำลองใน PC ของตนเองอีกต่อไป แต่สามารถเชื่อมโยงข้อมูล แบบจำลอง ผลแบบจำลอง ไปสู่ผู้ใช้งานในรูปแบบของเว็บเพจ ที่ง่ายต่อการเข้าถึง มีความพร้อมใช้งาน สะดวกในทุกสถานการณ์

คู่มือสำหรับการฝึกอบรมนี้ พร้อมไฟล์ตัวอย่าง ผมได้อัพโหลดไว้ให้ทุกท่านสามารถดาวน์โหลด

และทดลองฝึกปฎิบัติ หรือจะใช้เป็นตัวอย่างสำหรับการทำงานโครงการ

Download คู่มือและไฟล์ตัวอย่างการฝึกอบรม (ยกเว้น Installation สามารถดาวน์โหลดได้จากเวบไซด์ของ DHI ได้โดยตรง)

Link ข้างบนเป็น Zip ที่รวมไฟล์ทั้งหมดให้แล้ว

อย่างไรก็ตามสำหรับ Installation แบบจำลองอื่นๆที่ไม่ได้ให้ไว้ข้างต้นให้ download ตรงจาก

Download Center - DHI


 ส่วน Link ด้านล่างกรณีต้องการดูแต่ตัวคู่มือที่เป็น PDF

คู่มือการฝึกอบรม (pdf)


สุดท้ายเป็น License file สำหรับการฝึกอบรม

License File สำหรับการฝึกอบรม (หมดอายุ 9 กค. 2567)

วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

DHI Anual Conference 2024

DHI Annual Conference 2024

ดิจิทัลโซลูชั่นด้านน้ำของประเทศไทยโดยใช้แพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ 'MIKE POWERED BY DHI'

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน 2567




ข้อมูลสมุทรศาสตร์สำหรับการสร้างแบบจำลองการพยากรณ์

ผศ.ดร.ธนัสพงษ์ โภควนิช 

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ 


การศึกษาสภาพทางอุทกพลศาสตร์เพื่อสนับสนุนการคาดการณ์การกระจายตัวอ่อนปูม้าบริเวณอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

นายกฤตภาส สุชาโต 

นักส่งเสริมนวัตกรรม ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

(องค์การมหาชน)


เทคโนโลยีดิจิทัลที่ใช้ในการแก้ปัญหาด้านทะเลและชายฝั่ง ด้วยแบบจำลองคลื่นทั่วโลก

Jesper Dorge ผู้อำนวยการโครงการด้านทะเลและชายฝั่ง DHI



เทคโนโลยีดิจิทัลที่ใช้ในการแก้ปัญหาด้านแหล่งน้ำด้วยแบบจำลองอุทกวิทยาทั่วโลก

Oluf Zeilund Jessen, รองประธานฝ่ายพัฒนาระหว่างประเทศ DHI


การพัฒนาระบบติดตามการเปลี่ยนแปลงสถานะน้ำของประเทศด้วยข้อมูลดาวเทียมสำรวจ

ทรัพยากรโลก

นาย สถิตย์ จันทร์ทิพย์ หัวหน้างานแบบจำลอง ฝ่ายนวัตกรรมสารสนเทศทรัพยากรน้ำ

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ องค์การมหาชน


ระบบพยากรณ์อุทกวิทยาเพื่อสนับสนุนการดำเนินการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำที่ปลอดภัย

ดร. สุรเจตส์ บุญญาอรุณเนตร หัวหน้าวิศวกรอาวุโส บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด มหาชน


ภาพรวมวิวัฒนาการของผลิตภัณฑ์แบบจำลอง MIKE+ 

การฝึกอบรมภาคปฏิบัติ MIKE products (MO, M+, M21FM => Web app)

ดร. สมชาย ชนวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญแบบจำลองประจำ DHI ประเทศไทย


ภาพบรรยากาศในงานสัมมนาและการฝึกอบรม











วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2566

Getting start with MIKE+ on 2D flood modelling

แบบจำลอง MIKE+ เป็นอีกแบบจำลองที่จัดทำโดย DHI

ที่มาพร้อมคุณสมบัติใหม่ มากมาย เพื่อมาใช้งานแทนแบบจำลอง

MIKE 11, MIKE Hydro River, MIKE Urban และ MIKE Flood


 แบบจำลอง MIKE+ เป็นแบบจำลองสำหรับคำนวณการไหลของน้ำ

ทั้งแบบการไหลในท่อ การไหลในลำน้ำเปิด และการไหลแบบบ 2 มิติ

โดยตัวแบบจำลองมีความยืดหยุ่นในการเลือกว่าจะทำการจำลองเฉพาะบางรูปแบบ

หรือจะผสานการคำนวณเพื่อจำลองทั้งการไหลในท่อ ต่อกับการไหลในลำน้ำ และการท่วมบนพื้นผิว


สำหรับ Blog นี้จะเป็นการแนะนำแบบฝึกหัดที่สามารถฝึกหัดการใช้งานแบบจำลอง MIKE+

ในส่วนของการต่อยอดจากแบบจำลองการไหลในท่อ ให้ผสานการคำนวณร่วมกับน้ำท่วมบนพื้นผิว

จึงเป็นการคำนวณที่เน้นตัวอย่างการจำลองการเกิดน้ำท่วมในเมือง ที่ใช้การระบายน้ำด้วยท่อเป็นหลัก


คู่มือการฝึกอบรมด้วยตัวเองนี้

เป็นเอกสารที่ถอดขั้นตอนการฝึกอบรมมาจาก Self-paced training ของ DHI

ในคู่มือจะมี link VDO ประกอบการฝึกอบรม (ภาษาอังกฤษ)

เสริมด้วยสรุปเป็นภาษาไทย ทำให้ผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษไม่คล่องสามารถทำตามได้ไม่ยาก


คลิกโหลดคู่มือการฝึกอบรมได้ที่รูปภาพด้านล่าง



สำหรับไฟล์ประกอบการฝึกอบรมที่อธิบายไว้ในคู่มือ ให้โหลดตาม link ที่ให้ไว้ในคู่มือ

และอาจจำเป็นต้องลงทะเบียนเป็นสมาชิกเวบเสียก่อน (ลงทะเบียนฟรี) จึงจะโหลดไฟล์ได้
https://training.theacademybydhi.com


อย่างไรก็ตามสำหรับ VDO ประกอบการสอน ส่วนใหญ่แล้วอยู่บน Youtube 

ดังนั้นจึงสามารถเปิดดูได้เลยด้วยตนเอง


วีดีโอด้านล่างแสดงตัวอย่างผลคำนวณการเกิดน้ำท่วมในแบบฝึกหัด



ไฟล์ประกอบต่างๆสำหรับการฝึกอบรม อาจ Download เพิ่มเติมได้จาก Link ด้านล้างนี้
(ไฟล์นี้จะใส่ไว้ชั่วคราว เพื่อใช้ประกอบการฝึกอบรมวันที่ 30 มิย. 2566 เท่านั้น ไฟล์ในนี้จะลบทิ้งหลังวันที่ 10 กค. 2566)