วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เครื่องมือช่วยในการปรับค่าระดับ Topography ที่ใช้ในแบบจำลอง MIKE21

บทความนี้จะแนะนำเครื่องมือช่วยในการปรับค่าระดับ DEM ที่ใช้ในแบบจำลอง MIKE21
โดยไฟล์ DEM หรือ Topography ที่ใช้ในแบบจำลอง MIKE21 คือไฟล์ dfs2
โดยทั่วไปแล้วข้อมูลค่าระดับที่ได้มา จะไม่รวมค่าระดับของสิ่งปลูกสร้างต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นอาคารบ้านเรื่อน ถนน หรือคันกั้นน้ำต่างๆ
แต่หากมีข้อมูล GIS ของสิ่งปลูกสร้างต่างๆแล้ว
เราสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือที่จะแนะนำต่อไปนี้ในการปรับค่าระดับไฟล์ dfs2
โดยสามารถเลือกปรับเพิ่ม หรือลดระดับตามข้อมูล Shape ที่เป็น polygon ของสิ่งปลูกสร้างนั้นๆได้
โดยที่มาของเครื่องมือนี้ เป็นเครื่องมือที่จัดสร้างขึ้นเฉพาะเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานเท่านั้น
ดังนั้นเครื่องมือนี้จึงไม่รวมอยู่ในโปรแกรมมาตรฐาน และไม่ได้มีมาในแผ่นโปรแกรมของ DHI

 



ที่มาของเครื่องมือนี้ นำเสนอใน

โดยให้โหลดเครื่องมือชื่อ Topography Adjustment Tool (ตาม link ด้านล่างนี้)

เครื่องมือมาพร้อมคู่มือแนะนำการใช้งานอย่างย่อ ทำให้สามารถใช้งานได้ไม่ยาก




วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เทคนิคการทำ scenario ทดสอบแบบจำลอง MIKEbyDHI กับ climate change

บทความนี้ จะแนะนำวิธีการแปลงแบบจำลองที่จัดทำเรียบร้อยแล้ว
เพื่อทดสอบกับสถานการณ์ภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป
โดย MIKEbyDHI เวอร์ชั่น 2011 เป็นต้นไป
จะมีโปรแกรมช่วยในการดัดแปลงข้อมูลนำเข้าทั้งหมด
ในแบบจำลองเพื่อทดสอบสถานการณ์อากาศต่างๆที่เราต้องการ
โดยข้อมูลนำเข้าแบบจำลองที่ได้รับอธิพลจากการเปลี่ยนแปลงอากาศประกอบด้วย
ข้อมูลปริมาณฝน ข้อมูลการระเหย ข้อมูลระดับน้ำ และข้อมูลอุณหภูมิ

เริ่มต้นจะต้องจัดเตรียมแบบจำลองที่มีข้อมูลดังกล่าวข้างต้นอยู่เป็นข้อมูลนำเข้าให้เรียบร้อยก่อน
พร้อมทั้งมีการปรับเทียบแบบจำลองแล้ว และจะนำมาทดสอบกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง

โปรแกรมช่วยจัดทำข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์อากาศที่เปลี่ยนไปเริ่มโดย
สร้างไฟล์ใหม่ โดยในกลุ่ม MIKEZero เลือก Climate Change (.mzcc)



โดยปัจจุบัน (เวอร์ชั่น 2012) จะสามารถดัดแปลงข้อมูลสำหรับแบบจำลองได้ทั้งหมด 4 ชนิดด้วยกันคือ
MIKE SHE, MIKE11, MIKE21 และ MIKE FLOOD



ให้เลือกแบบจำลองที่ต้องการแล้วเลื่อกไฟล์แบบจำลองนั้นๆ พร้อมกับกรอกข้อมูล Lat/Long ให้ถูกต้อง



จากนั้นไปที่หน้า Climate Change Scenarios ให้เพิ่ม Scenario โดยคลิกที่ icon รูปสี่เหลี่ยม



เมื่อเพิ่ม Scenario แล้วจะสามารแก้ไขชื่อได้ และเมื่อคลิกเข้ามาดูรายละเอียดของ Scenario
จะพบว่า สามารถเลือกแบบจำลองคาดการณ์สภาพภูมิอากาศโลกที่นำมาจาก IPCC ได้ดังนี้

BCM2,CGHR,GMR,CNCM3,CSMK3,ECHOG,FGOALS,GFCM20,GFCM21,GIAOM,GIEH,GIER,HADCM3,HADGEM,INCM3,IPCM4,MIHR,MIMR,MPEH5,MRCGCM,NCCCSM,NCPCM

ส่วนแบบจำลองคาดการณ์ระดับน้ำประกอบไปด้วย

Grinsted2009 5%,Grinsted2009 95%,Grinsted2009 Mean,Horton2008 Lower,Horton2008 Mean,Horton2008 Upper,IPCC AR4 5%,IPCC AR4 95%,IPCC AR4 Mean,Vermeer2009 Lower,Vermeer2009 Mean,Vermeer2009 Upper

โดยหากเลือกแบบจำลองมากกว่าหนึ่ง โปรแกรมจะใช้ค่าเฉลี่ยจากทั้งหมดที่เลือกไว้มาทำการดัดแปลงข้อมูลนำเข้า
เมื่อเลือกแบบจำลองแล้ว พร้อมกับตั้งค่าปีที่จะให้แบบจำลองคำนวณสภาพภูมิอากาศ
แล้วคลิกปุ่ม Generate default delta change value



โปรแกรมจะทำการคำนวณค่าเฉลี่ยตัวแปลสำหรับการดัดแปลงข้อมูลนำเข้า
โดยเราสามารถเข้าไปตรวจสอบค่าสัมประสิทธิในการแปลงข้อมูลนำเข้าของข้อมูลแต่ละชนิดได้



และหากเราต้องการแก้ไขเป็นค่าอื่นๆที่ต้องการทดสอบโดยเฉพาะ ก็สามารถแก้ไขค่าในตาราง


สำหรับฝน ค่าในตารางเป็นตัวคูณที่จะใช้สำหรับแต่ละเดือน


สำหรับระดับน้ำ ค่าตัวเลขในตารางจะเป็นค่าระดับน้ำที่บวกเพิ่มจากเดิม


ก่อนที่จะคลิกปุ่ม Generate climate change scenario



โดยเมื่อคลิกปุ่มนี้ โปรแกรมจะทำการ copy ไฟล์แบบจำลองทั้งหมดไปไว้ใน folder ที่ตั้งค่าไว้
พร้อมทั้งแก้ไขข้อมูลในไฟล์นำเข้าแบบจำลองทั้งหมด ให้เป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงตามค่าที่แสดงในตารางสัมประสิทธิการเปลี่ยนแปลงจากสภาพอากาศ
ก็จะได้ไฟล์แบบจำลองพร้อมสำหรับทดสอบแบบจำลองตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้แล้ว

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แก้ปัญหา Uninstall โปรแกรม MIKEbyDHI ไม่สำเร็จทำให้ Install โปรแกรมใหม่ไม่ได้

ในบทความนี้จะแนะนำการแก้ปัญหากรณีการถอนการติดตั้งโปรแกรมไม่สำเร็จ

ปัญหาการถอนการติดตั้งโปรแกรม MIKEbyDHI ไม่สำเร็จนั้น
บางครั้งเกิดจากความผิดพลาดในการติดตั้ง หรือมีการลบไฟล์ผิดพลาด
ทำให้ลบไฟล์โปรแกรมไปโดยไม่ตั้งใจ และการที่ไฟล์โปรแกรมหายไป 
โดยที่ใน Registry ของ Windows ยังจำว่ามีโปรแกรมและไฟล์ทั้งหมดอยู่ ก็จะมีปัญหาในการติดตั้งใหม่

หรือบางครั้งข้อความดังนี้ "unable to edit the registry aborting the setup" ซึ่งเกิดจาก user ที่เป็น system ถูกจำกัดการเข้าถึง registry ไว้จึงเข้าไปแก้ไขการติดตั้งโปรแกรมไม่ได้

ด้านล่างนี้เป็นขั้นตอนในการถอนการติดตั้งกรณีที่จะถอนโปรแกรมทั้งหมดของ MIKEbyDHI ที่ติดตั้งไว้

1) สำหรับเครื่องที่เป็น Windows 7 เนื่องจากมีการตั้งค่าความปลอดภัยค่อนข้างสูง ทำให้บางครั้งการติดตั้งหรือถอนโปรแกรมจะไม่ได้รับอนุญาติให้ทำได้ แม้ว่าเราจะ login และทำงานเป็น administrator แล้วก็ตาม ให้เข้าไปแก้ไข User Account Control settings โดยลดระดับให้เป็น Never notify ดังรูป


2) ให้ถอนการติดตั้งแบบปกติก่อน โดยการเข้าไปที่ Control Panel แล้วไปที่ Programs and Features แล้วเลือกถอนการติดตั้ง DHI MIKE Zero 2012 64 bit หรือโปรแกรมอื่นๆของ DHI ที่ต้องการถอนการติดตั้ง


3) ในกรณีการถอนการติดตั้งในข้อ 2) ทำงานไม่สำเร็จ ให้หา DVD ที่ติดตั้งโปรแกรมมาช่วยในการถอน โดยการเลือกไฟล์ Setup.exe ในแผ่น DVD เช่นกรณีต้องการถอน MIKE Zero ให้เข้าไปใน folder ของ MIKE Zero แล้วคลิกขวาที่ไฟล์ Setup.exe แล้วเลือก Run as administrator โดยเมื่อสั่งรันแบบนี้ โปรแกรมจะตรวจสอบว่ามีการติดตั้งโปรแกรมไว้แล้ว และจะมีให้เลือกว่าจะ Modify, Repair หรือ Remove ซึ่งเราสามารถเลือก Remove เพื่อถอนการติดตั้งได้


4) ในกรณีที่ถอนแบบกรณีที่ 3) แล้วยังไม่สำเร็จ เราอาจใช้วิธีการลบไฟล์โปรแกรมที่ติดตั้งทั้งหมดเอง และตามไปลบ การลงทะเบียนโปรแกรมใน Registry ด้วย ดังนี้
4.1) ลบไฟล์ที่ลงไว้ทั้งหมดก่อน โดยส่วนมากจะอยู่ที่ C:\Program Files (x86)\DHI สำหรับคอมพ์พิวเตอร์ที่เป็น 64bit ชื่อ Folder อาจแตกต่างกันได้ขึ้นกับการเลือก folder ในตอนที่ติดตั้ง
4.2) ตามไปลบการลงทะเบียนใน registry โดยไปที่ Start แล้วพิมพ์ regedit ในช่อง "Search program and file" จากนั้นให้เข้าไปที่ HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE แล้วลบส่วนการลงทะเบียน DHI
และสำหรับเครื่อง 64bit จะต้องตามไปลบที่ HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Wow6432Node เพิ่มเติมด้วย
4.3) การลบด้วยวิธีนี้ ปกติจะถือว่าลบไฟล์ได้ครบสมบูรณ์แล้ว สามารถทดสอบการลงโปรแกรม MIKEbyDHI ใหม่ก็จะพบว่าตัวลงโปรแกรมจะไม่ตรวจพบโปรแกรมเก่าที่เคยลงไว้แล้ว และจะเหมือนการลงโปรแกรมในคอมพ์พิวเตอร์ที่ไม่เคยติดตั้งแบบจำลองของ DHI มาก่อนเลย


5) ในกรณีที่ตรวจสอบด้วยการทดสอบลงโปรแกรมแล้วยังพบว่าตัวลงโปรแกรมยังคงตรวจพบว่ามีแบบจำลองเก่าค้างอยู่และต้องถอนการติดตั้ง ให้ใช้โปรแกรมช่วยลบ registry ที่ชื่อ CCleaner ซึ่งเป็นโปรแกรมฟรีที่จะช่วย scan หา registry ในระบบที่ยังคงค้างอยู่ แต่ไม่มีการใช้งาน
โดยโปรแกรม CCleaner สามารถ download ได้ที่ 
เมื่อติดตั้งโปรแกรม CCleaner เรียบร้อยแล้วให้เปิดโปรแกรมแล้วเลือกหน้าต่าง Tools แล้วเลือกไฟล์ทั้งหมดของ DHI ที่โปรแกรมตรวจพบ จากนั้นคลิก Delete entry (ระวังอย่าเลือกลบไฟล์ผิด)
จากนั้นให้ไปที่หน้า Registry แล้วให้โปรแกรม scan ไฟล์ registry ที่ไม่ได้ใช้งานแล้วทั้งหมด จากนั้นคลิกปุ่ม Fix all the issues


หวังว่าวิธีการถอนการติดตั้งโปรแกรมเก่าของ MIKEbyDHI ในคอมพ์พิวเตอร์ของท่าน
ที่อาจจะเสียหรือมีปัญหา จะสามารถใช้ขั้นตอนและวิธีการทั้งหมดในข้างต้น ทำได้สำเร็จ
และสามารถติดตั้งโปรแกรมใหม่ได้สำเร็จ


วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเตรียมรูปภาพเพื่อซ้อนเป็นภาพพื้นหลังในโปรแกรม MIKEbyDHI ด้วยเครื่องมือ MIKE Zero Toolbox

บทความนี้จะแนะนำการเตรียมรูปภาพให้สามารถนำมาซ้อนเป็นภาพพื้นหลัง
ในโปรแกรม MIKEbyDHI ที่สามารถเพิ่ม Layer รูปภาพได้

เบื้องต้น จะต้องเตรียมรูปภาพที่มีนามสกุล bmp, jpg, gif, png หรือ tif สำหรับพื้นที่ที่ต้องการก่อน
โดยจะต้องรู้พิกัด Lat/Long ของมุมล่างซ้าย และบนขวาของรูปภาพด้วย

สำหรับรูปความละเอียดสูง อาจจะต้องใช้เทคนิคอื่นๆในการได้มาซึ่งแผนที่
แต่หากไม่ต้องการความละเอียดสูงนัก ในพื้นที่กว้าง ลองใช้เทคนิคที่แนะนำดังนี้
ซูมหาพื้นที่ที่ต้องการจาก maps.google.com โดยซูมให้เห็นพื้นที่ทั้งหมด
จากนั้นเชคพิกัดบน ล่าง ซ้าย ขวา ของแผนที่ ที่ต้องการจะตัดรูปในภายหลัง


โดยการคลิกขวาที่ตำแหน่งที่ต้องการรู้พิกัดแล้วเลือก "What's here"
(สำหรับใครที่ใช้ภาษาไทย น่าจะเป็นคำว่า "ที่นี่ที่ไหน")



โดยในช่อง Search หรือ ค้นหา ของ maps.google.com ก็จะขึ้นค่าพิกัดมาให้
แต่เป็นพิกัดแบบ องศา ซึ่งต้องนำไปแปลงค่าเป็นพิกัดแบบ UTM ก่อน
ข้อสังเกตุ ค่าพิกัดในรูป 14.179186 เป็นค่า องศา สำหรับคำนวณ UTM ในแกน Y หรือแนวเหนือใต้
ส่วนแนวตะวันออก-ตก จะเป็นค่า 100.208359

ปัจจุบัน แผนที่ Google อาจเปลี่ยนรูปแบบการแสดงผลไปบ้างแล้ว ทำให้วิธีการคลิกเม้าส์ขวา
จะไม่มีตัวเลือกขึ้นมาให้เลือกแล้ว
อย่างไรก็ตาม เรายังสามารถเก็บค่าพิกัดของจุดที่เราต้องการได้จาก การจดตัวเลขที่ปรากฏบริเวณช่อง Search มุมบนซ้ายของจอ ซึ่งจะแจ้งพิกัดที่เราคลิกเมาส์ซ้ายลงไปบนแผนที่ ดังรูป
ค่าพิกัดที่ได้มา อาจต้องแปลงเพื่อให้เป็นรูปแบบ degree.xxx แทนที่จะเป็น องศา ลิปดา ..



ให้เก็บค่าพิกัดจากแผนที่ทั้ง 4 ด้านไว้ก่อน ก็จะประกอบไปด้วย ซ้าย ขวา บน และล่าง
พร้อมกันนี้ก็ทำการ Print Screen แผนที่นี้ไว้ และนำรูปไป Crop
ให้ขอบของรูปตรงกับพิกัดที่เราตรวจสอบค่ามา ก็จะได้รูปพร้อมค่าพิกัด
ในการ Crop อาจต้องเลือกตำแหน่งที่พอจะมีจุดสังเกตุ เพื่อความง่ายในการเชคค่าพิกัด
เช่นอาจเป็นจุดตัดถนน หรือแม่น้ำ ก็ได้



นำค่าพิกัดที่ได้ มาแปลงเป็นค่า UTM โดยสำหรับประเทศไทย ทั่วไปจะใช้ Zone 47 N
โดยใช้โปรแกรมที่มากับ MIKEbyDHI  เปิดจาก MIKE Zero เมนู File / Option / Datum Convert



ใน Datum Convert ให้เลือกเมนู File / New



ในหน้าต่างให้เลือกและกรอกข้อมูลให้เรียบร้อย โดยการแปลงค่าพิกัดจะสามารถแปลงไปและกลับได้



กรอกข้อมูลก่อนการแปลง โดยใส่ข้อมูลพิกัดเป็นค่า องศา (พิกัดจาก A)
พิกัดที่กรอกไว้ในตัวอย่าง เป็นการกรอกค่า มุมล่างซ้าย และบนขวา ไว้ ก่อนจะแปลง
โดยพิกัดแบบ A (Coordinate System A) เป็นพิกัดแบบ Geographical
ส่วนพิกัดแบบ B (Coordinate System B) เป็นแบบ Map projection = UTM-47



หลังจากกรอกข้อมูลครบ และเลือกระบบพิกัดเรียบร้อย เมื่อกดปุ่ม Convert from A to B
โปรแกรมจะทำการแปลงข้อมูลที่กรอกทั้งหมด จากระบบพิกัดแบบ A เป็นแบบ B ให้ทันที ในตารางเดิม
สำหรับโปรแกรมนี้ สามารถใช้ Copy & Paste ข้อมูลกับโปรแกรม Excel ได้
ดังนั้นหากใครต้องการแปลงระบบพิกัด และมีโปรแกรม MIKE Zero อยู่ในเครื่อง
ก็สามารถใช้โปรแกรมนี้ช่วยในการแปลงค่าพิกัดได้

เมื่อได้ค่าพิกัดเป็น UTM แล้ว ให้กลับไปที่ MIKE Zero แล้วเลือกเมนู File / New / file...
แล้วเลือกสร้างไฟล์ MIKE Zero Toolbox ดังรูป



จากนั้นเลือก File Converter แล้วดับเบิลคลิกที่ Geo Referencing Image File


ในหน้าแรก เป็นการตั้งชื่อ คลิก Next ข้ามไป จากนั้น
เป็นการเลือกไฟล์ รูปภาพที่ต้องการตรึงพิกัด


จากนั้น จะเป็นการกรอกค่าพิกัดของรูป โดยต้องกรอกข้อมูลพิกัด UTM
ขอบซ้าย ขวา บน และ ล่าง ตามค่าพิกัดที่ได้มาดังอธิบายไว้ก่อนหน้านี้


จากนั้นเมื่อคลิก Next จะเป็นหน้าสรุปการตั้งค่าทั้งหมด ให้กดปุ่ม Execute
โปรแกรมจะสร้างไฟล์ตรึงพิกัดขึ้นมา


หากสามารถทำงานได้เรียบร้อย จะมีหน้าต่างแจ้งว่าจัดสร้างไฟล์ตรึงพิกัดรูปเรียบร้อย
ไฟล์ MIKE Zero Toolbox นี้เราสามารถจัดเก็บไว้เพื่อรันครั้งต่อไปได้


เมื่อตรวจสอบไฟล์ที่เดียวกับรูปภาพ จะพบว่ามีไฟล์ชื่อเดียวกัน แต่นามสกุลจะต่อท้ายเพิ่มด้วยอักษร W

และหากเปิดไฟล์ที่เพิ่มขึ้นมาด้วย Notepad จะพบข้อความการตรึงพิกัดรูปดังนี้


เมื่อได้ดังนี้แล้ว รูปที่ตรึงพิกัดด้วยวิธีการนี้ จะสามารถนำไปใช้เป็นภาพพื้นหลัง
ในหลายๆโปรแกรมของ MIKEbyDHI ได้แล้ว โดยเมื่อนำภาพเข้าไปซ้อนในโปรแกรม
ภาพจะไปปรากฎพร้อมตำแหน่งพิกัดที่ถูกต้อง

ตัวอย่างนี้เป็นการนำรูปเข้าไปวางซ้อนใน Network Editor ในการจัดทำแบบจำลอง MIKE11


หรือจะเป็นการนำไปซ้อนใน Grid Editor ในกรณีเปิดไฟล์ dfs2 ก็สามารถนำรูปไปซ้อนได้เช่นกัน



นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปใช้ใน MIKE Animator Plus โดยทำการซ้อนภาพแผนที่
ไปบนพื้นผิว 3 มิติและได้ผลดังรูป





วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การแสดงผลคำนวณแผนที่น้ำท่วม หรือผลคำนวณ 2 มิติของแบบจำลอง MIKEbyDHI ด้วยเครื่องมือ Plot Composer

ในบทความนี้จะแนะนำเทคนิคการนำผลการคำนวณที่เป็น 2 มิติ จากแบบจำลอง MIKEbyDHI
เช่นผลคำนวณแผนที่น้ำท่วม หรือผลคำนวณจากโปรแกรม MIKE21
โดยไฟล์ผลคำนวณเหล่านี้จะมีนามสกุล dfs2

ในบทความนี้จะแนะนำรวมไปถึงการสร้างวีดีโอภาพเคลื่อนไหวของผลคำนวณ 2 กรณีพร้อมกันด้วย
เบื้องต้นให้เปิดโปรแกรม MIKEZero แล้วเลือกสร้างไฟล์ใหม่แล้วเลือกสร้างไฟล์ plc



เลือกสร้างไฟล์ Plot Composer



เมื่อได้ไฟล์ใหม่แล้ว ให้เพิ่มพื้นที่สร้างกราฟ โดยเลือกเมนู Plot / Insert New Plot Object...



จะมีหน้าต่างถามว่าต้องการเพิ่มพื้นที่สร้างกราฟกี่พื้นที่ ตัวอย่างนี้สร้าง 2 พื้นที่ 
โดยแบ่งครึ่งตามแนวตั้ง วางซ้ายและขวา และสำหรับไฟล์ผลแบบ dfs2 เราจะสร้างเป็น Grid Plot



หลังจากนั้นโปรแกรมจะเปิดหน้าต่างให้เลือกไฟล์ dfs2 ที่ต้องการน้ำมาแสดง



เมื่อเลือกไฟล์แล้ว จะมีแถบต่างๆไว้จัดการ แก้ไข และตั้งค่าการแสดงแผนที่



เมื่อตั้งค่ากราฟแรกเสร็จแล้ว ให้คลิกเม้าส์ซ้ายที่พื้นที่กราฟอีกที่ แล้วคลิกขวาเลือก Properties
ก็จะมีหน้าต่างให้เลือกไฟล์ dfs2 ให้เลือกไฟล์ผลคำนวณอีกกรณีที่ต้องการ



เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้ว จะได้แผนที่ทั้งสองกรณีวางคู่กัน แต่แถบด้านล่างซ้ายจะยังอยู่ที่ Edit
ซึ่งโหมด Edit นี้จะเป็นการปรับแต่งการแสดงแผนที่ 
และหากคลิกขวาที่กราฟใดกราฟหนึ่งแล้วเลือก Toolbar จะมีเครื่องมือ
สำหรับเล่น และสร้างวีดีโอภาพเคลื่อนไหวให้สามารถใช้งานได้



Toolbar สำหรับเล่นภาพเคลื่อนไหว และสร้างวีดีโอ

อย่างไรก็ตามหากสร้างไฟล์วีดีโอจากเครื่องมือนี้ จะทำให้ได้ภาพเคลื่อนไหวเฉพาะเคสที่เลือกเท่านั้น
และไม่สามารถเลือกแผนที่พร้อมกันทั้งสองแผนที่ได้



ในกรณีที่ต้องการสร้างวีดีโอสำหรับสองกรณีในไฟล์เดียวนั้น 
ให้เลือกแถบด้านล่างซ้ายไปที่ Animate จะทำให้ด้านบนมีแถบเครื่องมือ
สำหรับเล่น และสร้างไฟล์วีดีโอขึ้นมา
และเมื่อใช้เครื่องมือด้านบนในการสร้างวีดีโอ ก็จะได้ไฟล์วีดีโอของกราฟทั้ง 2 รูปในไฟล์เดียว



ตัวอย่างไฟล์วีดีโอสำหรับผลคำนวณ 2 กรณีที่จัดสร้างเป็นไฟล์เดียว

และสำหรับ Plot Composer ที่มีนามสกุลไฟล์ plc ก็สามารถ save เก็บไว้ได้
เมื่อต้องการสร้างกราฟแบบเดิม แต่เปลี่ยนไฟล์ผลคำนวณ ก็สามารถทำได้
โดยคลิกขวาแล้วเลือก properties แล้วแก้ไขไฟล์ผลคำนวณให้เลือกไฟล์ใหม่
ก็จะได้กราฟที่วาดด้วยการตั้งค่าเช่นเดิม


วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การแสดงค่าระดับน้ำสูงสุดร่วมกับหน้าตัดลำน้ำใน MIKE11

บทความนี้จะแนะนำเทคนิคในการตั้งค่าโปรแกรม ให้แสดงระดับน้ำคำนวณสูงสุด
ร่วมกับรูปหน้าตัดลำน้ำใน MIKE11

เทคนิคนี้จะใช้วิธีกรอกข้อมูลระดับน้ำใน User Defined Markers
แล้วไปตั้งค่าในโปรแกรมจัดการหน้าตัดลำน้ำให้แสดงค่า User Defined Markers ด้วย

เริ่มต้นด้วยการสร้างแบบจำลอง MIKE11 แล้วรันเพื่อให้ได้ผลคำนวณค่าสูงสุดก่อน
จากนั้นเปิดผลรันด้วยโปรแกรม MIKEView แล้วใช้เครื่องมือสร้างกราฟดังรูป



ใช้เครื่องมือในวงกลมสีแดง



กดปุ่ม List



ทำการเลือกข้อมูลในหน้า List โดยเลือกไปถึง Maximum จากนั้นกดปุ่ม Ctrl+C เพื่อ Copy ข้อมูลไว้



เปิดโปรแกรม Excel แล้ว Paste ข้อมูลลงไปแล้วจัดข้อมูลให้มี RiverName, Chainage และ Maximum
จะต้องใช้วิธีการจัดการข้อมูลแบบ Text to Column ใน Excel เพื่อช่วยแยก River Name และ Chainage
จากนั้นให้ Copy ข้อมูลจากแถวที่ 2 ไปจนหมด



เปิดไฟล์ HD11 แล้วเลือกหน้า User Def. Marks แล้วเพิ่มช่องกรอกข้อมูล (กดปุ่ม Tab)
จากนั้นตั้งชื่อข้อมูล Mark title เอง ส่วนตัวข้อมูลให้ Paste ข้อมูลที่ Copy จาก Excel ลงไป
ในระหว่างนี้ จะต้องเปิดไฟล์ sim11 ค้างไว้คู่กันตลอดเวลา



เปิดไฟล์หน้าตัดลำน้ำ แล้วเข้าไปคลิกขวาส่วนที่แสดงรูปหน้าตัด แล้วเลือก Settings...



เลือกให้แสดงข้อมูลเพิ่มโดยเลือก Draw user defined marks และเลือกข้อมูลให้ถูกต้อง



เมื่อเลือกเสร็จแล้ว จะเห็นว่าในหน้าตัดลำน้ำมีการวาดระดับน้ำสูงสุดแล้ว
พร้อมกันนี้ เราสามารถเลือกหน้าตัดลำน้ำที่จะสั่ง Print พร้อมกันหลายหน้าตัดได้โดย
คลิกขวาที่ลำน้ำแล้วเลือก Select และเลือก All Section in all Rivers 
หรือจะเลือกทีละหน้าตัดโดยกดปุ่ม Ctrl ค้างไว้แล้วคลิกเม้าส์ซ้ายที่หน้าตัดที่ต้องการ



ตั้งค่าการพิมพ์โดยคลิกที่เมนู File แล้วเลือก Print Multiple Sections, Settings...



ตัวอย่างนี้ตั้งค่าการพิมพ์โดยให้มี 2 Columns และ 4 Rows



ตรวจสอบการพิมพ์โดยคลิกที่เมนู File แล้วเลือก Print Multiple Sections, Preview
เพื่อตรวจสอบว่ารูปแบบหน้าตัดที่จะพิมพ์ ถูกต้องตามต้องการแล้วจึงสั่งพิมพ์