ก่อนหน้านี้ได้นำเสนอการสร้างแผนที่น้ำท่วมในแบบจำลอง MIKE11 โดยใช้เพียงข้อมูลหน้าตัดลำน้ำ
ซึ่งก็มีข้อจำกัดบางอย่างเนื่องจากตัวแบบจำลองเองและวิธีการในการสร้างแผนที่น้ำท่วม
ในที่นี้จะได้นำเสอนวิธีการสร้างแผนที่น้ำท่วมอีกแบบในแบบจำลอง MIKE11 เหมือนกัน
ซึ่งต้องการข้อมูลเพิ่มคือ ข้อมูล DEM หรือค่าระดับของพื้นที่น้ำท่วมในพื้นที่ศึกษา
หลังจากมีข้อมูลและแบบจำลอง MIKE11 พร้อมแล้ว ก็ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
เตรียมข้อมูล HelpGrid โดยจะใช้ DEM ของพื้นที่ศึกษาเป็นต้นแบบ
แล้วทำการแก้ไข HelpGrid ให้เป็นกลุ่มของพื้นที่น้ำท่วม ซึ่งในตัวอย่างนี้ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มดังรูป
(รูป HelpGrid)
แต่ละกลุ่มพื้นที่น้ำท่วม จะมีระหัสเป็นตัวเลขจำนวนเต็ม ในที่นี้ใช้เลข 1, 3 และ 4
ซึ่งระหัสที่ตั้งไว้ใน HelpGrid จะถูกจับคู่กับ Cross-section ID ในไฟล์ *.xns11 ซึ่งเป็นไฟล์ข้อมูลหน้าตัดลำน้ำ
(รูป หน้าตัดลำน้ำ และ ID)
จากนั้นในไฟล์ *.HD11 จะต้องตั้งค่าให้การสร้างแผนที่ใช้ข้อมูลจาก HelpGrid และเลือกใช้ค่าระดับจาก DEM
(รูป การตั้งค่าการสร้างแผนที่ใน *.HD11)
โดยในการใช้ HelpGrid ในการสร้างแผนที่น้ำท่วมนี้ จะเป็นการบอกให้แบบจำลอง นำระดับน้ำ จากหน้าตัดลำน้ำที่เราจับคู่กับระหัสของ HelpGrid มาวาดเป็นแผนที่น้ำท่วมบนพื้นที่ของ HelpGrid ที่ระหัสนั้นๆ
(VDO แผนที่น้ำท่วม ที่ได้จากการใช้ HelpGrid)
วิธีการสร้างแผนที่น้ำท่วมแบบนี้ จะใกล้เคียงกับแผนที่น้ำท่วมจากการใช้ MIKE11GIS ในแบบจำลองของ DHI เวอร์ชั่นที่เก่ากว่าปี 2005 (หลังปี 2005 ทาง DHI ได้ยกเลิกการสร้างแผนที่น้ำท่วมด้วย MIKE11GIS )
(VDO แผนที่น้ำท่วม ที่ได้จากการใช้ MIKE11GIS)
ข้างล่างนี้ อัพเดทเพิ่มเติมเมื่อ 2013-10-10 เพื่อขยายความเรื่องการเตรียมไฟล์ HelpGrid
vvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvvv
ให้เปิดไฟล์ DEM ของพื้นที่ศึกษาขึ้นมา ดังรูป
จากนั้นให้ Save as ไปเป็นชื่อ HelpGrid (หรือแล้วแต่เราจะตั้งชื่อว่าอะไร)
จากนั้นตรวจสอบค่า Delete value โดยเลือกเมนู Edit/Item
ตัวอย่างนี้จะเห็นค่า Delete Value เป็น -1E-35
จากนั้นใช้เครื่องมือในเมนู Tool ช่วยในการแก้ไขค่า
ในกรณีที่ยังไม่ได้เลือก เซลใดๆ สามารถใช้ Tool/Set Value... แล้วใส่ค่าเท่ากับ -1E-35 ได้เลย
จะทำให้ทุกค่าในตารางถูกลบทิ้งไป
หลังจากนั้น ให้แก้ไขค่าใน Cells ต่างๆเป็นกลุ่มตัวเลขที่จะเชื่อมกับหน้าตัดลำน้ำ
ในตัวอย่างนี้ แบ่งเป็น 3 พื้นที่ ดังนั้นจึงกำหนดตัวเลขเป็น 1, 2, และ 3 เท่านั้น
โดยการเลือกพื้นที่ สามารถใช้เครื่องมือแบบ Area Selection ในการเลือกพื้นที่ได้
เมื่อเลือกพื้นที่แล้ว ส่วนที่ถูกเลือก จะเป็นพื้นที่แรเงา
จากนั้นใช้เมนู Tool/Set Value ใส่ค่าให้กับ Cells ที่เลือกไว้ (รูปด้านล่าง ใช้ Tool/Set Value แล้วใส่ค่า 1)
ทำเช่นนี้กับพื้นที่อื่นๆที่ต้องการเชื่อมกับ Cross-Section จนได้ครบแล้วจะได้ไฟล์ดังรูป
สำหรับตัวช่วยให้การเลือกพื้นที่ ทำงานง่ายขึ้น เราสามารถซ้อนรูปพื้นหลังเข้าไปได้โดย
เมนู Data Overlay/Add / Remove Layers
ก็สามารถซ้อนรูปที่เป็นรูปภาพ หรือไฟล์ SHP เข้ามาเป็นรุปพื้นหลัง เพื่อให้การเลือกพื้นที่ ทำงานได้ง่ายขึ้นได้
นอกจากนี้ ข้อมูลใน ตาราง ข้างต้นทั้งหมด เราสามารถ Copy & Paste ไปมาระหว่าง MIKEZero กับ Excel ได้ ดังนั้น หากถนัดใช้ Excel ในการเตรียมข้อมูล ก็สามารถทำได้เช่นกัน