เนื้อหาในนี้จะแนะนำแบบจำลอง MIKE + ในส่วนของการใช้งานกับ River เป็นหลัก
เนื้อหาแบ่งเป็นสองส่วนคือส่วนต้นจะแนะนำแบบจำลอง MIKE + ก่อน และจะตามด้วยแบบฝึกหัดสำหรับการเริ่มใช้งาน MIKE +
ด้านล่างนี้เป็นการอธิบายถึงแบบจำลอง MIKE +
แบบจำลอง MIKE + ถือเป็นแบบจำลองที่พัฒนาขึ้นมาใหม่โดย DHI
โดยการพัฒนาขึ้นมาบนโปรแกรมใหม่ ชื่อ MIKE + แทนที่การใช้โปรแกรมเดิมคือ MIKE Zero
ทั้งนี้แบบจำลองใน MIKE + จะประกอบไปด้วยแบบจำลองการไหลแบบ 1 และ 2 มิติ เป็นหลัก
โดยแบบจำลอง 1 มิติ ได้รับการพัฒนาขึ้นมาแทนแบบจำลอง MIKE Urban, MIKE 11, MIKE Hydro River และ MIKE Flood
ทั้งนี้แบบจำลอง MIKE Urban และ MIKE 11 ถูกหยุดพัฒนาต่อเนื่อง และเลิกทำการตลาดไปแล้ว
ส่วน MIKE Hydro River และ MIKE Flood จะหยุดการพัฒนาและเลิกทำการตลาดในอนาคตต่อไป หลังจาก MIKE + มีการพัฒนาฟังก์ชั่นการทำงานได้สมบูรณ์แล้ว
โดยปัจจุบัน (version 2022 update1) MIKE + เหลือเพียงส่วนต่อยอดด้านการพัดพาตะกอนเท่านั้นที่รอการพัฒนาเพิ่มเติม คาดการว่าจะเสร็จในปี 2023
ดูวีดีโอ แนะนำ MIKE + รวมถึงการเปลี่ยนผ่านจาก MIKE 11 และ MIKE Hydro River มาสู่ MIKE +
ส่วนนี้ขอแนะนำแบบฝึกอบรมด้วยตนเองในรูปแบบ Self-Pace Course
ของ The Academy by DHI รูปแบบการฝึกอบรมด้วยตนเองเลขที่ 634
https://training.theacademybydhi.com/cstart/course/634
ทั้งนี้โดยให้ลงทะเบียนเป็นผู้รับการฝึกอบรมก่อนที่
https://training.theacademybydhi.com/start/op/signup
หลังจากนั้นจึงเลือกคอร์สการฝึกอบรมที่ 634 ตามที่ให้ link ไว้ข้างต้น
พื้นที่ศึกษาที่ใช้เป็นตัวอย่างในการฝึกอบรมเป็นแม่น้ำ Sesupe ส่วนที่อยู่ในประเทศลิทัวเนีย
ทั้งนี้ไฟล์ข้อมูลและตัวอย่างสำหรับการฝึกอบรมให้โหลดจาก Self-Pace Course
ที่แนะนำให้ลงทะเบียนไว้สำหรับคอร์ส 634
โดยเมื่อดำเนินการเรียนรู้ไปตามขั้นตอนต่างๆ
จะมีทั้งวีดีโอนำเสนอความรู้พื้นฐาน สอนการทำแบบจำลองในภาพรวม
และให้ link สำหรับการโหลดข้อมูลเพื่อทำแบบฝึกหัด
และวีดีโอสอนการทำแบบฝึกหัดแบบทีละขั้นตอน
การฝึกอบรมนี้แบ่งออกเป็น 5 Module
และมีการแนะนำวิธีการตั้งค่า VDO และการติดตั้งโปรแกรมแบบจำลองไว้ด้วย
Module ทั้ง 5 ประกอบด้วย
Module 1 – ขั้นตอนเริ่มต้น
การสร้าง project
ใหม่, ทำความเข้าใจ user interface และการซ้อนภาพพื้นหลัง
Module 2 –
ชลศาสตร์ (การคำนวณไหล)
การสร้างเส้นลำน้ำ,
นำเข้าข้อมูลหน้าตัดลำน้ำ, ตั้งค่าฝายและกำหนดข้อมูลขอบเขต
Module 3 –
อุทกศาสตร์ (การคำนวณ น้ำฝน-น้ำท่า)
สร้างลุ่มน้ำย่อย,
ตั้งค่าแบบจำลองน้ำฝนน้ำท่า และ การเชื่อมโยงกับลำน้ำ
Module 4 –
การรันแบบจำลอง
ตั้งค่าการเก็บผลคำนวณ,
การสอบทานแบบจำลอง, กำหนดค่าพารามิเตอร์สำหรับการคำนวณ
และการรันแบบจำลอง
Module 5 –
ผลของแบบจำลอง
ตรวจสอบผลที่ได้จากแบบจำลอง
และทำความเข้าใจ log ไฟล์
อย่างไรก็ตาม ได้มีการถอดขั้นตอนการฝึกอบรม
สรุปออกมาเป็นคู่มือประกอบการฝึกอบรม
ให้ download ได้จาก link นี้
สำหรับผู้สนใจสามารถติดตาม
วีดีโอแนะนำการใช้งาน Self-pace ในการฝึกอบรมการใช้งาน MIKE+
ที่ได้ดำเนินการกันไปในวันที่ 29 มิถุนายน 2565 ผ่านระบบ Zoom และในห้องประชุม
ขอความรู้ ทำวิจัยจบป.ตรีหน่อยค่ะ
ตอบลบ