วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2565

DHI Thailand User Group Meeting 2022 แลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้และนวัตกรรมด้านทรัพยากรน้ำ รับมือความท้าทายสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

DHI Thailand User Group Meeting 2022



ในปีนี้ DHI และ สสน. ได้ร่วมกันจัดประชุมในวันที่

28 - 29 มิถุนายน 2565

โดยเป็นการจัดประชุมแบบผสมทั้งการประชุมแบบเข้าร่วมที่ รร รามาการ์เดนส์

และการเข้าร่วมประชุมแบบ online ผ่าน Zoom application รวมถึง

การถ่ายทอดการประชุมผ่านสื่อ online ทาง Facebook

รับชมวีดีโอบันทึกการบรรยายในงานสัมมนา


ในการประชุมครั้งนี้ได้เชิญผู้เข้าร่วมบรรยายหลากหลากหลาย

ที่มีประสบการณ์ในด้านต่างๆ ทั้งชาวไทยและต่างชาติมาร่วมบรรยาย


โดยภาพรวมของการบรรยายมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรน้ำ

ที่สอดคล้องกับการแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน


รูปหมู่จากในงานสัมมนา






การบรรยายในงานสัมมนา และไฟล์ประกอบการบรรยายประกอบไปด้วย 

(กรณีที่ผู้บรรยายอนุญาติให้เผยแพร่ได้) จะมี link ให้โหลดไฟล์



ดำเนินรายการ (ระบบ online) โดย นางสาววราภรณ์ บูรณะอัตม์ ผู้ประสานงาน DHI ประเทศไทย
และนางสาว กวินธิดา ปิ่นทอง เป็นผู้ดำเนินรายการภายในงาน


กล่าวเปิดงาน โดย Project Director Nordic, Marine & Coastal, DHI



บรรยายพิเศษ หัวข้อ ความสำเร็จของการพัฒนาที่ยั่งยืนจากประสบการณ์และมุมมองของสสน.

โดย ดร. สุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)



DSS (operational and planning) Climate resilience in global, regional scale and Thailand 

โดย Mr. Oluf Zeilund Jessen, รองประธานฝ่ายพัฒนาระหว่างประเทศ DHI เดนมาร์ก




โดย นายอัตถพงษ์ ฉันทานุมัติ ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนแม่บท สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ




โดย ผศ.ดร.ประชา คุณธรรมดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



โดย นายสถิตย์ จันทร์ทิพย์ นักพัฒนาแบบจำลอง สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)





โดย Mr. Pierre Hoevelt, MIKE Sales Manager Asia Pacific




โดย Mr. Jakob Luchner, Water Engineer DSS expert, DHI Denmark 



Early warning system forecasts river plastic flows to oceans

the Global Partnership on Marine Litter (GPML)

โดย Nicola Balbarini, Head of Water Resources Operations • International Development – DHI Denmark







วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2565

MIKE + (River) - แบบฝึกอบรมด้วยตนเอง สำหรับการจำลองการไหลในลำน้ำ เบื้องต้น

เนื้อหาในนี้จะแนะนำแบบจำลอง MIKE + ในส่วนของการใช้งานกับ River เป็นหลัก

เนื้อหาแบ่งเป็นสองส่วนคือส่วนต้นจะแนะนำแบบจำลอง MIKE + ก่อน และจะตามด้วยแบบฝึกหัดสำหรับการเริ่มใช้งาน MIKE +


ด้านล่างนี้เป็นการอธิบายถึงแบบจำลอง MIKE +

แบบจำลอง MIKE + ถือเป็นแบบจำลองที่พัฒนาขึ้นมาใหม่โดย DHI

โดยการพัฒนาขึ้นมาบนโปรแกรมใหม่ ชื่อ MIKE + แทนที่การใช้โปรแกรมเดิมคือ MIKE Zero

ทั้งนี้แบบจำลองใน MIKE + จะประกอบไปด้วยแบบจำลองการไหลแบบ 1 และ 2 มิติ เป็นหลัก

โดยแบบจำลอง 1 มิติ ได้รับการพัฒนาขึ้นมาแทนแบบจำลอง MIKE Urban, MIKE 11, MIKE Hydro River และ MIKE Flood

ทั้งนี้แบบจำลอง MIKE Urban และ MIKE 11 ถูกหยุดพัฒนาต่อเนื่อง และเลิกทำการตลาดไปแล้ว

ส่วน MIKE Hydro River และ MIKE Flood จะหยุดการพัฒนาและเลิกทำการตลาดในอนาคตต่อไป หลังจาก MIKE + มีการพัฒนาฟังก์ชั่นการทำงานได้สมบูรณ์แล้ว

โดยปัจจุบัน (version 2022 update1) MIKE + เหลือเพียงส่วนต่อยอดด้านการพัดพาตะกอนเท่านั้นที่รอการพัฒนาเพิ่มเติม คาดการว่าจะเสร็จในปี 2023

ดูวีดีโอ แนะนำ MIKE + รวมถึงการเปลี่ยนผ่านจาก MIKE 11 และ MIKE Hydro River มาสู่ MIKE +






ส่วนนี้ขอแนะนำแบบฝึกอบรมด้วยตนเองในรูปแบบ Self-Pace Course 

ของ The Academy by DHI รูปแบบการฝึกอบรมด้วยตนเองเลขที่ 634 

https://training.theacademybydhi.com/cstart/course/634

ทั้งนี้โดยให้ลงทะเบียนเป็นผู้รับการฝึกอบรมก่อนที่ 

https://training.theacademybydhi.com/start/op/signup 

หลังจากนั้นจึงเลือกคอร์สการฝึกอบรมที่ 634 ตามที่ให้ link ไว้ข้างต้น


พื้นที่ศึกษาที่ใช้เป็นตัวอย่างในการฝึกอบรมเป็นแม่น้ำ Sesupe ส่วนที่อยู่ในประเทศลิทัวเนีย

ทั้งนี้ไฟล์ข้อมูลและตัวอย่างสำหรับการฝึกอบรมให้โหลดจาก Self-Pace Course 

ที่แนะนำให้ลงทะเบียนไว้สำหรับคอร์ส 634 

โดยเมื่อดำเนินการเรียนรู้ไปตามขั้นตอนต่างๆ 

จะมีทั้งวีดีโอนำเสนอความรู้พื้นฐาน สอนการทำแบบจำลองในภาพรวม 

และให้ link สำหรับการโหลดข้อมูลเพื่อทำแบบฝึกหัด 

และวีดีโอสอนการทำแบบฝึกหัดแบบทีละขั้นตอน


การฝึกอบรมนี้แบ่งออกเป็น 5 Module 

และมีการแนะนำวิธีการตั้งค่า VDO และการติดตั้งโปรแกรมแบบจำลองไว้ด้วย

Module ทั้ง 5 ประกอบด้วย


Module 1 – ขั้นตอนเริ่มต้น

การสร้าง project ใหม่, ทำความเข้าใจ user interface และการซ้อนภาพพื้นหลัง




Module 2 – ชลศาสตร์ (การคำนวณไหล)

การสร้างเส้นลำน้ำ, นำเข้าข้อมูลหน้าตัดลำน้ำ, ตั้งค่าฝายและกำหนดข้อมูลขอบเขต





Module 3 – อุทกศาสตร์ (การคำนวณ น้ำฝน-น้ำท่า)

สร้างลุ่มน้ำย่อย, ตั้งค่าแบบจำลองน้ำฝนน้ำท่า และ การเชื่อมโยงกับลำน้ำ



Module 4 – การรันแบบจำลอง

ตั้งค่าการเก็บผลคำนวณ, การสอบทานแบบจำลอง, กำหนดค่าพารามิเตอร์สำหรับการคำนวณ และการรันแบบจำลอง



Module 5 – ผลของแบบจำลอง

ตรวจสอบผลที่ได้จากแบบจำลอง และทำความเข้าใจ log ไฟล์




อย่างไรก็ตาม ได้มีการถอดขั้นตอนการฝึกอบรม 

สรุปออกมาเป็นคู่มือประกอบการฝึกอบรม

ให้ download ได้จาก link นี้


สำหรับผู้สนใจสามารถติดตาม

วีดีโอแนะนำการใช้งาน Self-pace ในการฝึกอบรมการใช้งาน MIKE+ 

ที่ได้ดำเนินการกันไปในวันที่ 29 มิถุนายน 2565 ผ่านระบบ Zoom และในห้องประชุม