วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562

การทำค่าเฉลี่ยรายเดือนสำหรับผลคำนวณการไหลจาก MIKE 21 FM ที่ได้ผลเป็นไฟล์นามสกุล dfsu

ขั้นตอนการทำข้อมูลเฉลี่ยรายเดือน สำหรับผลคำนวณของแบบ MIKE 21 Flexible Mesh ซึ่งจะได้ผลคำนวณเป็นไฟล์นามสกุล DFSU มีประโยชน์เช่น หากต้องการหาทิศทางการไหลเฉลี่ยรายเดือนหรือรายปีในพื้นที่ผลคำนวณ 2 มิติ

ก่อนจะทำตามขั้นตอนด้านล่าง จะต้องมีไฟล์ผลคำนวณจากแบบจำลอง MIKE 21 FM เรียบร้อยแล้ว โดยเป็นผลคำนวณที่ครอบคลุมช่วงเวลาที่ต้องการหาค่าสถิติ

มีขั้นตอนดังนี้

1 สร้าง Data Extraction FM จากการเปิดโปรแกรม MIKE Zero แล้ว New File แล้วเลือกดังรูป


2 เพิ่ม Outputs ตัวแรก เลือกเป็น Area แล้วเลือกที่เก็บไฟล์ โดยตัวอย่างต้องการเฉพาะเดือน มค. หากผลคำนวณเดิมเป็นรายชั่วโมง เริ่มจาก 1 มค. ทั้งเดือน 31 วันจะมี 744 timestep



3 เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้วให้ Save แล้วรัน หลังรันจะได้ไฟล์ที่ Extract ออกมาตามที่ตั้งค่าไว้



4 ให้เปิดไฟล์ ที่ตัดมาสำหรับทั้งเดือน มค. (ที่ต้องการหาค่าเฉลี่ย) โดยคลิกขวาแล้วเลือก Open with MIKE Zero Data Manager




5 เมื่อเปิดไฟล์ได้แล้วให้คำนวณค่าสถิติทีละ parameter ตัวอย่างรูปด้านล่างเริ่มทำสำหรับ Surface elevation




6 เสร็จแล้วให้ save เก็บเป็นชื่อตาม parameter แต่ละตัวแล้วปิด stat ไป



7 ทำการคำนวณ Stat สำหรับ parameter อื่นที่เหลือคือ U และ V เช่นเดิม แล้ว Save เพื่อให้รู้ว่าเป็น U และ V ตามลำดับ



8 เมื่อได้ไฟล์ Stat สำหรับเดือนที่ต้องการ ของ parameter ทั้งหมดคือ Surface, U และ V แล้วให้เปิดไฟล์ Stat Surface ขึ้นมาด้วย data manager แล้ว Save as เป็น Ave_HUV ซึ่งเป็นชื่อไฟล์ผลสุดท้ายที่ต้องการ


9 เบื้องต้น ไฟล์นี้จะมี 3 item อยู่แล้ว โดยเป็นค่า minimum, maximum และ average ของ Surface elevation ดังนั้น เราจะแก้ไขให้ minimum และ maximum เป็น average U และ average V ตามลำดับ โดยให้ใช้เมนู View/Items…


10 เลือกแก้ไข Item แรก ดังรูป



11 แก้ไข Item ที่สอง ดังรูป


12 เมื่อแก้ไข Item ทั้ง 2 แล้วให้คลิก OK จากนั้นเลือก item Average : U แล้วใช้เมนู Edit/Calculator 


13 จากนั้นคลิกที่ Add variable แล้วเลือกไฟล์ Stat U โดยให้เลือก Item ให้ถูกต้อง ดังรูป



14 เชคซ้ำอีกครั้งตรง Item ของ Variables จะต้องตรงกันคือ Average : U กับ Statistical mean : U velocity จากนั้นให้พิมพ์ Var3 ตรง Expression แล้วคลิก calculate



15 ทำเช่นเดียวกันกับ Item ที่เป็น Average : V



16 เมื่อทำเสร็จแล้วให้ Save แล้วปิด แล้วเปิดด้วย data viwer (ดับเบิลคลิกไฟล์ dfsu) แล้วตรวจสอบโดยการให้แสดง Vector โดยคลิกขวาที่รูปแล้วเลือก Vector ปรับแต่งความยาว vector โดยคลิกขวาเลือก data option 




วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2562

DHI Thailand User Group Meeting 2019 : Future of water and environment





  
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)
Hydro – Informatics Institute (HII)

ร่วมกับ

DHI A/S


จัดงานสัมมนาทางวิชาการแบบจำลองน้ำและสิ่งแวดล้อม

Future of Water and Environment

วันที่ 6-7 มิถุนายน 2562

ม. เกษตรศาสตร์ บางเขน ห้องประชุม 306

การบรรยายในวันที่ 6 มิถุนายน 2562 (ห้องประชุม 306)



กล่าวรายงานการประชุมโดย
ดร. สุรเจตส์ บุญญาอรุณเนตร
ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายนวัตกรรมสารสนเทศทรัพยากรน้ำ, HII


กล่าวเปิดการประชุม โดย
Dr. Sutat Weesakul
Director of HII
พร้อมทั้งบรรยายพิเศษในหัวข้อ
"Future of water and environment management in Thailand"




Mr. Jesper Dorge
Executive Director, DHI A/S, DK office
"Solving water and environmental challenges with MbD Release 2019"
และ
"DHI's experience with environmental management of large infrastructure projects"




Mr. Oluf Zeilund Jessen
Head of Water Resource Project, DHI A/S, DK office
"Water Management in Thailand and the region - Past experiences and emerging technologies"




Dr. Piyamarn Srisomphon




Dr. Tanuspong Pokavanich
Kasetsart University, Department of Marine Science, Faculty of Fisheries
“คู่ควบงานสำรวจภาคสนามและแบบจำลองเพื่อการศึกษาด้านชายฝั่งทะเลและปากแม่น้ำ”
(Coupled field measurement and numerical simulation modelling for coastal and estuarine studies)


Dr. Phailin Chatanantavet




Dr. Tanapon Phenrat
Naresuan University, Faculty of Engineering 



ดำเนินการประชุมโดย
นางสาว วราภรณ์ บูรณะอัตม์
ผู้จัดการ DHI A/S, TH office






การฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการในวันที่ 7 มิถุนายน 2562 (ห้อง 302 และ 303)
**ห้องอบรมมีคอมพิวเตอร์ให้แล้ว ไม่จำเป็นต้องนำมาเอง



GlobalSEA Oil Spill
An online operational application that forecasts the movement and
transformation of accidental oil spills at sea – anywhere, anytime in the world
Jesper Dorge





MIKE ECO Lab module
Complete numerical laboratory for water quality and ecological modelling.
See more detail about MIKE ECO Lab
by

Aurore Trottet
Senior Environmental Specialist, DHI A/S, SG office
ดาวโหลดไฟล์สำหรับการฝึกอบรม ECO Lab
และ
เอกสารประกอบการบรรยายในการฝึกอบรม ECO Lab






การประยุกต์ใช้แบบจำลอง MIKE Flood  จำลองน้ำท่วมกรณีตลิ่งลำน้ำพัง
อบรมโดย
Dr. Somchai Chonwattana
Senior Hydraulic Engineer, DHI A/S, TH office

วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2562

การคำนวณผลกระทบจากพายุ ปาบึก Pabuk ด้วยแบบจำลอง MIKE21 FM


ด้วยมีเหตุการณ์พายุชื่อปาบึก
กำลังจะพัดขึ้นฝั่งทางภายใต้ของไทยในช่วงวันที่ 3-6 มค. 2562
และในวันนี้ ก็พอจะมีข้อมูลพายุจากทางกรมอุตุฯ
ที่เป็นข้อมูลปัจจุบัน และพยากรณ์ล่วงหน้าว่าพายุจะไปทิศทางไหน

ประกอบกับมีแบบจำลอง MIKE21 FM พร้อมข้อมูลเพียงพอต่อการ
นำมาใช้คำนวณผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้จากพายุปาบึกนี้

การคำนวณด้วยแบบจำลอง MIKE21 จะให้ผลเป็นระดับน้ำ 
และความเร็วกระแสน้ำในอ่าวไทยทั้งหมด
แต่ในการติดตามและประเมินผลกระทบจะเน้นส่วนของระดับน้ำเป็นหลัก

ในการทำแบบจำลองจะมีลำดับขั้นตอนดังนี้คือ

เตรียมข้อมูลพายุ จากระบบเฝ้าระวังของกรมอุตุฯ
(http://www.metalarm.tmd.go.th/monitor/typhoon)
ซึ่งได้ให้รายละเอียดไว้พอสมควรว่าระดับความแรงพายุเป็นอย่างไร
(รูปด้านล่างเป็นข้อมูล ณ วันที่ 3 ช่วงบ่าย ดังนั้น หลังเวลาดังกล่าวเป็นการคาดการทางเดินพายุ)


จากนั้นนำมาใช้สร้างแผนที่ลมในอ่าวไทยด้วยโปรแกรม 
Cyclone Wind Generation


โดยกรอกข้อมูลที่จำเป็นคือ ตำแหน่งตาพายุ ความเร็วลมสูงสุด และอื่นๆ จะได้แผนที่ลมดังรูปด้านล่าง


เมื่อได้ข้อมูลลมแล้ว จึงนำมาคำนวณกระแสน้ำและระดับน้ำในอ่าวไทย
โดยในที่นี้ได้แบ่งเป็น 3 กรณีคือ

กรณีกระแสน้ำและระดับน้ำที่เกิดจาก ลมพายุ เพียงอย่างเดียว


โดยมีระดับน้ำสูงสุด (ตลอดช่วงเวลาพายุ) ดังรูปด้านล่าง



กรณีกระแสน้ำและระดับน้ำที่เกิดจาก น้ำขึ้นน้ำลง เพียงอย่างเดียว


โดยมีระดับน้ำสูงสุด (ตลอดช่วงเวลาพายุ) ดังรูปด้านล่าง


และสุดท้าย กรณีที่คำนวณโดยใช้ทั้งระดับน้ำขึ้นลงและลมพายุพร้อมกัน



โดยมีระดับน้ำสูงสุด (ตลอดช่วงเวลาพายุ) ดังรูปด้านล่าง


จากผลคำนวณทั้ง 3 กรณี พบว่า บริเวณที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก
หากพายุมีทิศทางตามที่กรมอุตุพยากรณ์ไว้ คือ
บริเวณอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 
บริเวณปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

โดยกราฟด้านล่างแสดงระดับน้ำจาก 3 กรณีที่คำนวณได้บริเวณอ่าวบ้านดอน


ผลที่ได้ พอจะสรุปได้ดังนี้
หากการพัดผ่านของพายุเป็นไปตามพยากรณ์ อิทธิพลของพายุเพียงอย่างเดียว (เส้นแดง) อาจยกระดับน้ำได้สูงขึ้นถึงราวๆ 1.3 เมตร ในช่วงเที่ยงคืนวันที่ 4 อย่างไรก็ตามในเวลาดังกล่าว เป็นช่วงเวลาน้ำลงต่ำสุดพอดี (เส้นดำ) จึงน่าจะทำให้ลดผลกระทบในบริเวณนี้ได้มากดังแสดงในเส้นผลรวมของทั้งพายุและน้ำขึ้นน้ำลง (เส้นน้ำเงิน)

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพายุ จะมีการเปลี่ยนเส้นทาง และระยะเวลาการพัดผ่านที่อาจผิดไปจากพยากรณ์ได้ ดังนั้น หากนับสถานการณ์ร้ายแรงสุดกรณีพายุมีผลให้ระดับน้ำสูงสุดในช่วงที่ระดับน้ำขึ้นลงขึ้นสูงสุดพอดี จะทำให้ระดับน้ำยกสูงได้ราวๆ 2.5 เมตร

ต่อมาเป็นความสูงคลื่นที่เกิดจากลมพายุ
คลื่นเหล่านี้จะวิ่งไปบนผิวน้ำอีกที ให้นึกถึงว่า ถ้าระดับน้ำยกตัว 2 เมตร แล้วคลื่นสูงอีก 1 เมตร
จะเท่ากับว่า ณ เวลานั้น เราจะมีน้ำกระโจนใส่ได้ที่ระดับสูงถึง 3 เมตร

ถ้าถอดเฉพาะค่าสูงสุดมาเป็นแผนที่ความสูงคลื่นจากพายุจะได้ดังนี้

จากความสูงคลื่นที่คำนวณได้ จะพบว่า
บริเวณแหลมตะลุมพุกเป็นพื้นที่ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นพื้นที่เปิดรับคลื่นโดยตรง
และเส้นทางพายุมีเส้นทางเข้าไปยังบริเวณนั้นทำให้ความสูงคลื่นบริเวณนั้นสูงมาก
ประกอบกับเมื่อระดับน้ำมีการยกตัว ทำให้คลื่นเคลื่อนที่เข้าไปได้ลึกมากขึ้นโดยไม่แตกตัวไปก่อน


หวังว่า ผลคำนวณข้างต้นจะมีประโยชน์บางส่วน ต่อการวางแผนรับมือกับวาตะภัยในครั้งนี้
ขอให้ผู้ที่ทำงานลงไปช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ และผู้อยู่ในพื้นที่เองปลอยภัยทุกท่าน


ด้านล่างนี้ ผมเข้ามาเพิ่มรายละเอียดในช่วงบ่าย วันที่ 5 มค.
เนื่องจากพอดีมาสำรวจหาดที่ระยองระหว่างวันที่ 4-5 มค. และได้เห็นอิธิพลของปาบึกที่ส่งผลมาถึงระยองด้วย

วีดีโอแสดงคลื่นบริเวณหาดน้ำริน ระยอง ช่วงเที่ยงวันที่ 5 มค. พบว่ามีคลื่นแรงโดยลมสงบมาก


วันที่ 4 คลื่นแรงกว่าปกติในช่วงเวลานี้ของระยอง โดยที่ไม่มีลมพัด แต่มีคลื่นแรง และช่วงดึกๆต่อเนื่องเช้าวันที่ 5 ระดับน้ำเฉลี่ยสูงขึ้นเล็กน้อย พร้อมกับมีคลื่นแรงมากขึ้น

คลื่นที่เข้ามาเป็นคลื่นที่ค่อนราบแต่มีพลังมาก ซึ่งเป็นลักษณะของคลื่นลมที่ถูกพัดมาจากที่ไกลๆ ลักษณะจะมีความสูงในน้ำลึกไม่มากแต่มีคาบเวลาคลื่นค่อนข้างยาว เวลาเข้าใกล้ฝั่งจะยกตัวสูงและแตกตัว ทำให้เกิดการซัดตะกอนทรายมาเกยด้านบนและทำให้หาดมีความชันมากขึ้น เห็นได้ชัดจากรูปบริเวณหาดน้ำรินของวันที่ 4 และ 5 ซึ่งทรายมากองหน้ากำแพงในวันที่ 5 จนเกือบเท่ากับความสูงกำแพงแล้ว ในขณะที่วันก่อนหน้านี้ยังมีระดับทรายต่ำกว่ากำแพงถึงกว่า 1-2 เมตร

สองรูปนี้เป็นรูปแสดงทรายหน้ากำแพงกันคลื่นที่หาดน้ำริน ระยอง
ในช่วงเที่ยง วันที่ 4 มค. และเที่ยงวันที่ 5 มค.




แล้วก็เลยตรวจสอบผลคำนวณที่ทำไว้ก่อนหน้านี้ พบว่าสอดคล้องกับที่ได้คุยกับชาวบ้านที่พักอยู่บริเวณหาดน้ำริน ระยอง ว่าคลื่นเริ่มแรงและซัดทรายขึ้นมากองตั้งแต่ช่วงดึกของวันที่ 4 มค. โดยก่อนหน้านี้ระดับทรายยังต่ำกว่ากำแพงแบบท่วมหัว

รูปด้านล่างแสดงคลื่นที่คำนวณได้จากอิทธิพลของพายุปาบึก
จะเห็นพบว่าคลื่นมาถึงมาบตาพุดในช่วงดึกวันที่ 4 ต่อเนื่องวันที่ 5
โดยเป็นคลื่นที่ไม่สูงแต่มีความยากคลื่นมาก


นอกจากนี้ ยังได้สอบถามถึงระดับน้ำบริเวณหาดน้ำรินกับชาวบ้าน ซึ่งให้ความเห็นว่าไม่รู้สึกว่าระดับน้ำต่างกับปกติเท่าไหร่ สอดคล้องกับผลคำนวณที่ระดับน้ำบริเวณนี้จะต่างกับปกติไม่มากนัก ประกอบกับคลื่นทำให้สังเกตความแตกต่างในส่วนของระดับน้ำยากพายุได้ยาก


จากผลของแบบจำลองนี้ ยังสามารถตรวจสอบผลระดับน้ำ การมาถึงของคลื่น และการยกตัวของน้ำเนื่องจากพายุ และอื่นๆ ได้อีกมาก ในตำแหน่งต่างๆ ทั่วทั้งอ่าวไทย
ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ในการใช้งานแบบจำลอง
ที่สามารถนำมาช่วยในการวางแผนรับมืออุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ