วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

GPU กับการเพิ่มควมเร็วในการคำนวณด้วยแบบจำลองน้ำท่วม 2 มิติใน MIKE21 FM series

จากที่เคยแนะนำข่าวเกี่ยวกับการใช้งาน GPU สำหรับแบบจำลอง MIKE21 FM
ไปก่อนหน้านี้ใน



ตอนนี้ DHI ได้พัฒนาการใช้งาน GPU เพื่อเร่งความเร็วการคำนวณ ปัจจุบันออกเวอร์ชั่น 2016
และได้มีผู้ใช้งาน GPU ในการคำนวณไปบ้างแล้วพอสมควร
และทาง DHI ได้รวบรวม Q&A ที่เกิดจากการใช้งานต่างๆ
รวมถึงรวบรวมรายงานการทดสอบการใช้งานที่ทาง DHI ได้ทดสอบไว้กับ GPU แบบต่างๆ
และได้นำเสนอไว้ในเวบเพจ MIKEbyDHI


ต่อไปนี้เป็นรายงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบและแนะนำการใช้งาน GPU


รายงานเล่มแรกที่จะแนะนำเป็นรายงานอธิบายการใช้งาน GPU โดยแนะนำตั้งแต่ Hardware, การตั้งค่า GPU การตั้งค่าการใช้งาน GPU ในแบบจำลอง และยังได้รวบรวมปัญหาต่างๆที่พบบ่อยและการแก้ไข
รายงานนี้มีสารบัญดังนี้ (คลิกที่รูปเพื่อโหลดเอกสารนี้)




รายงานเล่มต่อมานี้เป็นรายงานเสนอผลการทดสอบการใช้งาน GPU ในการรันแบบจำลองเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพเทียบกับกรณีที่ไม่ได้ใช้งาน GPU
รายงานนี้มีสารบัญดังนี้ (คลิกที่รูปเพื่อโหลดเอกสารนี้)



รายงานเล่มนี้เป็นรายงานเสนอผลการทดสอบการใช้งาน GPU ด้วยเช่นกัน แต่เป็นกรณีที่มีการใช้งานหลาย GPU ร่วมกันในการคำนวณ
รายงานนี้มีสารบัญดังนี้ (คลิกที่รูปเพื่อโหลดเอกสารนี้)




สุดท้ายรายงานเล่มนี้เป็นรายงานเสนอผลการทดสอบการใช้งาน GPU กรณีใช้แบบจำลอง MIKE3 FM 
รายงานนี้มีสารบัญดังนี้ (คลิกที่รูปเพื่อโหลดเอกสารนี้)




วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แบบฝึกหัดสำหรับผู้เริ่มต้นใช้แบบจำลอง MIKE Hydro River

สำหรับผู้ที่เริ่มใช้แบบจำลอง MIKE Hydro River

เนื่องจากเป็นแบบจำลองที่ออกมาใหม่ในช่วงปี 2014-2016
และมีการปรับเปลี่ยน User Interface ไปจากเดิมค่อนข้างมาก
แม้ว่าความสามารถและการทำงานหลายๆอย่างจะเทียบเท่า และดีกว่าเดิม

แต่ผู้ที่ปรับเปลี่ยนจากการใช้แบบจำลอง MIKE 11 มาเป็น MIKE Hydro River
ก็จะต้องปรับตัวพอสมควรกับหน้าตาโปรแกรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม

เนื่องจากได้เคยอัพโหลดไฟล์ที่เป็นคู่มือและตัวอย่างสำหรับ
ผู้เริ่มต้นใช้แบบจำลอง MIKE Hydro River ไปแล้วในบทความก่อนหน้า
แต่ไม่ได้ลงรายละเอียดไว้ใน Blog ว่าในแบบฝึกหัดนั้นแนะนำการใช้งานในด้านใดบ้าง

ดังนั้นในบทความนี้จึงขอเขียนถึงรายละเอียดที่ได้แนะนำไว้ในแบบฝึกหัดนั้น
พร้อมทั้งนำ Link ที่ได้เคยลงไว้มาแปะไว้ที่นี่อีกรอบ
เพื่อความสะดวกในการค้นหาใน Blog นี้

เนื้อหาในแบบฝึกหัด ผมขอตัดเอามาจากสารบัญของคู่มือแบบฝึกหัด
โดยเพิ่มคำอธิบายเพื่อให้เห็นถึงรายละเอียดในคู่มือได้มากขึ้นดังนี้

บทที่ 1
การนำเข้าแบบจำลอง MIKE 11 เดิม มาใช้ในแบบจำลอง MIKE Hydro River
เป็นการนำเข้าแบบจำลองที่มีอยู่เดิม เพื่อปรับมาใช้กับ MIKE Hydro River การนำเข้าจะมีขั้นตอนไม่ยุ่งยากเนื่องจากมี Tool สำหรับช่วยในการนำเข้ามาให้พร้อมใช้งาน

บทที่ 2
การตั้งค่าโครงสร้างทางชลศาสตร์ในแบบจำลอง MIKE Hydro River
เป็นตัวอย่างการตั้งค่าโครงสร้างประตูระบายน้ำที่มีการบริหารการเปิดปิดบานประตูตามการขึ้นลงของน้ำ เพื่อบังคับให้น้ำไหลไปทิศทางเดียว ตัวอย่างนี้มีประโยชน์ในกรณีต้องการบริหารประตูระบายน้ำเพื่อจัดการน้ำให้มีการระบายไปทิศทางเดียว แต่มีอุปสรรค์ด้านน้ำขึ้นน้ำลงที่ทำให้การระบายน้ำทำได้แค่บางช่วงเวลา การตั้งค่านี้ยังให้ผลคำนวณเป็นระดับการเปิดปิดบาน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารการเปิดปิดบานประตูระบายน้ำจริงๆได้

บทที่ 3
การทำงานร่วมกับข้อมูล DEM ในแบบจำลอง MIKE Hydro River
เมื่อมีข้อมูล DEM ซึ่งเป็นแผนที่ค่าระดับความสูงต่ำของพื้นที่ สำหรับพื้นที่ศึกษา เราจะสามารถใช้ข้อมูล DEM เพื่อประโยชน์ในการสร้าง เส้นลำน้ำหรือ river network, หน้าตัดลำน้ำหรือ Cross section และแบ่งพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยหรือ Sub catchment ได้ โดยโปรแกรมจะมีเครื่องมือช่วยในการดำเนินการดังกล่าวทั้งหมด ทำให้สะดวกในการจัดทำข้อมูลต่างๆสำหรับแบบจำลองการไหลในลำน้ำหากมีข้อมูล DEM ที่มีคุณภาพดี

คลิกโหลดไฟล์คู่มือและแบบฝึกหัดได้ที่นี่
(เลื่อนลงไปล่างสุด แล้วโหลดแบบฝึกหัด MIKE Hydro River)

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

DHI TH UGM 2016

งานสัมมนาผู้ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ MIKE Powered by DHI ครั้งที่ 10

ที่โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม และวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม 2559

 

วันแรกเป็นการบรรยายในหัวข้อต่างๆทางด้านแบบจำลองน้ำและการประยุกต์ใช้งาน
ส่วนวันที่สองเป็นการฝึกอบรมแบบจำลองทางทะเล กับ MIKE Hydro River (แยกห้องอบรม)


คณะผู้จัดงานสัมมนาได้อัพโหลดเอกสารที่เป็น
เอกสารประกอบการบรรยายและการฝึกอบรม ในงานนี้ไว้แล้ว
ผู้เข้าร่วมงานและผู้สนใจสามารถ Download เอกสาร
ของงานสัมมนานี้ได้ตามรายชื่อเอกสารและผู้บรรยายดังต่อไปนี้

1) เอกสารประกอบการบรรยาย

การบริหารจัดการน้ำที่ยั่งยืนเพื่อการปฏิรูปภาคเกษตรกรรม
บรรยายโดย
ดร. ภาณุวัฒน์ ปิ่นทอง
อาจารย์ประจำภาควิชาครุศาสตร์โยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
(ผู้ที่สนใจเอกสารประกอบการบรรยายของดร. ภาณุวัฒน์ ปิ่นทอง ขอให้ติดต่อที่ อ. โดยตรง)


บรรยายโดย
อาจารย์ชวกร ริ้วตระกูลไพบูลย์ อาจารย์ประจำสถาบันพัฒนาการชลประทาน


และ
บรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญแบบจำลองจาก DHI เดนมาร์ก
Torben Strange Jensen (Business Area Manager, Water Resources) MIKE Powered by DHI


บรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญแบบจำลองจาก DHI เดนมาร์ก 
Niels Hvam (Senior Hydraulic Engineer, Coastal and Marine) 


บรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญแบบจำลองจาก DHI ประเทศไทย
ดร. สมชาย ชนวัฒนา


บรรยายโดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อนุกูล บูรณประทีปรัตน์
อาจารย์ประจำภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


บรรยายโดย
รองศาสตราจารย์ ดร. อดิชัย พรพรหมินทร์
อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  บางเขน


บรรยายโดย
นายธีรพล เจริญสุข
ผู้ช่วยนักวิจัย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)



บรรยายโดย
นายธเนศ พิรุณพันธ์ บริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด


บรรยายโดย
นายสถิตย์ จันทร์ทิพย์ ผู้ช่วยนักวิจัย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)



2) เอกสารประกอบการฝึกอบรมสำหรับวันที่ 2 ของงานสัมมนา
ตัวอย่างในการฝึกอบรม จำเป็นต้องใช้ License ในการฝึกอบรม
ในกรณีที่มีผู้สนใจต้องการทดสอบเพิ่มเติม ชุดโปรแกรมที่ใช้ในงานสัมมนา หรืออื่นๆ
ขอให้ติดต่อคุณ วราภรณ์ บูรณะอัตม์ เกี่ยวกับ License ในการใช้งานโปรแกรมได้ที่
Mobile: 0816486334
Email: may@dhigroup.com