วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

การวิเคราะห์ระดับน้ำยกตัวเนื่องจากพายุ Storm Surge ด้วยโปรแกรม MIKE 21 FM

ในกรณีที่ต้องการคำนวณระดับน้ำที่ยกตัวเนื่องจากพายุ

ข้อมูลที่จำเป็นในการคำนวณคือ ระดับน้ำขึ้น น้ำลง ที่ Boundary ของแบบจำลอง

ซึ่งได้อธิบายวิธีการหาค่าระดับน้ำดังกล่าวไว้แล้วในบทความก่อนหน้านี้

สำหรับอีกข้อมูลหนึ่งที่ต้องใช้คือ ความเร็วลมที่เกิดขึ้นเนื่องจากพายุ

แต่โดยทั่วไปแล้ว เราจะได้ข้อมูลของพายุคือ ตำแหน่งที่แสดงการเคลื่อนที่ของพายุเท่านั้น

โดยจะมาพร้อมกับ เส้นรอบวงของพายุ ความเร็วสูงสุด และระดับความดันที่ต่ำกว่าพื้นที่โดยรอบ

ด้วยข้อมูลพายุดังกล่าว เราสามารถนำมาใช้ในการคำนวณความเร็วลม

สำหรับใช้เป็นข้อมูลนำเข้าแบบจำลองได้ด้วยโปรแกรม MIKE 21 Toolbox

โดยจะมีเครื่องมือช่วยคำนวณความเร็วลม จากข้อมูลตำแหน่งของพายุ



ในเครื่องมือนี้ หากใช้วิธีคำนวณความเร็วลมอย่างง่ายสุด จะต้องการข้อมูลของพายุประกอบไปด้วย

วันเวลา พิกัดของตาพายุ รัศมีของพายุ ความเร็วลมสูงสุด ความกดอากาศที่ศูนย์กลาง และความกดอากาศบริเวณรอบนอก



ในตัวอย่างนี้ ผมได้ทดสอบคำนวณการยกตัวของน้ำ จากกรณีพายุเกย์ ที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532

โดยได้ข้อมูลพายุจากเวบไซด์


เมื่อตรวจสอบข้อมูลพายุที่ได้มาจะมีลักษณะดังรูป


เส้นทางพายุเกย์ เป็นดังรูปนี้

** รูปจาก http://www.jma.go.jp

หลังจากที่กรอกข้อมูลพายุในเครื่องมือครบแล้ว พร้อมกับระบุขนาดและจำนวณกริดที่จะให้สร้างข้อมูลลมแบบ 2 มิติ ก็สามารถสั่งรันเพื่อสร้างข้อมูลลมจากพายุได้ทันที

ตัวอย่างข้อมูลลมที่คำนวณได้จาก พายุเกย์



เมื่อได้ข้อมูลครบแล้ว ทั้งระดับน้ำที่ Boundary และลมจากพายุเกย์

ก็นำทั้งหมดมาคำนวณการยกตัวของน้ำในแบบจำลอง MIKE 21 FM

โดยตัวอย่างด้านล่างนี้ ได้ทดสอบเพื่อให้เห็นอิทธิพลของ น้ำขึ้นน้ำลง พายุ และผลรวมของทั้งคู่ (รูปเรียงตามลำดับ)



ในการใช้งานจริง จะต้องมีการปรับเทียบแบบจำลอง โดยหาข้อมูลเท่าที่มีบันทึกค่าระดับน้ำช่วงที่เกิดพายุไว้ นำมาปรับเทียบกับผลจากแบบจำลอง เพื่อให้มีความถูกต้องก่อนนำมาใช้งานเพื่อศึกษาในเหตุการณ์สมมุติอื่นๆต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น