ปัญหาหนึ่งในแบบจำลอง MIKE11 ที่พบเมื่อสร้างแบบจำลองสำหรับ
พื้นที่ศึกษาที่มีขนาดใหญ่ แล้วใช้ข้อมูลเส้นลำน้ำจากฐานข้อมูลเชิง GIS
คือ จำนวน Node หรือ Points ของเส้นลำน้ำ มีเยอะมาก (เกิน 50 000 Points)
แล้วมีผลทำให้การเปิดใช้งานหน้าต่างการจัดการข้อมูล Network มีปัญหา
ทำให้การเลื่อน ซูม การดู หรือจะแก้ไขค่าต่างๆ มีอาการหน่วงเป็นอย่างมาก
แต่หากจะลดจำนวน Points ของเส้นลำน้ำลงมากๆ
ด้วยวิธีใช้ระยะห่างของ node เท่าๆกัน ก็ทำให้เส้นลำน้ำ ไม่โค้งตามธรรมชาติเท่าที่ควร
ทำให้ลดจำนวน Node ไม่ได้อย่างที่ต้องการ
หากใครมีปัญหานี้ ต่อไปนี้เป็นวิธีแก้ไข โดยสมมุติว่ามี Network ที่สร้างเสร็จแล้ว
และมีจำนวน Points เยอะมากเกินและต้องการลดจำนวน Points ลง
ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้
1) เปิดไฟล์ Network นั้นขึ้นมา แล้วเลือกเมนู Network/Export Network Data to Shape file
3) เปิดเวบไซด์ http://www.mapshaper.org/ ซึ่งจะมีตัวช่วยในการลดจำนวน points ให้เลือก % ว่าจะลดจำนวน points เหลือเท่าไหร่ โดยขั้นตอนนี้ต้องทดสอบว่าลดเหลือเท่าไหร่ จึงยังได้เส้นลำน้ำที่ยังมีส่วนโค้งที่ยอมรับได้อยู่
4) การใช้งานเวบไซด์ดังกล่าว แนะนำให้เลือกวิธีการลด points แบบ modified Visvalingam จากนั้นให้ลากไฟล์ SHP วางลงไปบนหน้าเวบ แล้วทดสอบเลื่อน % ในการลด point และหากได้ % ที่ต้องการแล้วให้คลิกที่ ปุ่ม Shapefile เพื่อโหลดไฟล์ SHP ที่ทำการลดทอน point ลงแล้วกลับมา
5) ไฟล์ที่ได้กลับมาจะมีเพียงสองไฟล์ที่มีนามสกุล SHP และ SHX ส่วนไฟล์ DBF ให้ใช้ไฟล์เดิมได้เลย ดังนั้นเมื่อ โหลดไฟล์กลับมาแล้ว unzip แล้วให้ copy ไฟล์ DBF ไปไว้ด้วยกันด้วย ถึงจะใช้งานได้
6) กลับมาที่ Network แล้วเลือกเมนู Layer/Add remove layer เพิ่ม Layer ใหม่แล้ว เลือกชนิด Shape File แล้วโหลดไฟล์ SHP ที่ได้มาใหม่เข้ามา
7) ลบเส้นลำน้ำเดิมพร้อมทั้ง points ทั้งหมด (ลบใน Tabular view จะสะดวกกว่า)
9) หากไฟล์เดิมมีการ Link เส้นลำน้ำไว้ เราสามารถ Copy การ Link ของเดิม ใน Tabular view/Network/Branches ในตาราง Overview มา paste ลงไปใน Network ที่ทำใหม่ได้ โดยมีเทคนิคว่าจะต้องใช้เมนู Edit/Copy และ Edit/Paste ในการ copy และ paste (ใน version 2012 sp2 พบว่าไม่สามารถใช้ Shot cut Ctrl+C และ Ctrl+V ได้)
หวังว่าเทคนิคนี้จะช่วยให้ทำงานกับ Network ในแบบจำลอง MIKE11 ได้สะดวกมากขึ้น
การลดจำนวน points ในแบบจำลองลงได้ จะทำให้การทำงานกับแบบจำลองไม่หน่วงมาก ใช้งานได้คล่องตัวมากขึ้น และไม่มีผลกับผลคำนวณจากแบบจำลอง เว้นแต่กรณีที่ทำแผนที่น้ำท่วม ซึ่งความโค้งของเส้นลำน้ำ มีผลต่อแผนที่น้ำท่วมที่สร้างขึ้นมาด้วย