วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2567

แบบฝึกหัดการติดตั้งโปรแกรมแบบจำลอง MIKE และตั้งค่า MIKE Operations Web

Blog วันนี้นำเสนอ

แบบฝึกอบรมการติดตั้งโปรแกรมแบบจำลอง MIKE (MIKE Zero, MIKE+, MIKE Operations) และตั้งค่า MIKE Operations Web ด้วยแบบจำลอง MIKE+ River Flood และ MIKE 21 FM ตัวอย่างพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างและอ่าวไทยตอนบน



เป็นการฝึกอบรมที่จัดเตรียมไว้สำหรับงาน

DHI Anual Conference 2024

ในวันที่ 27 มิถุนายน 2567


โดยมีเนื้อหาหลักคือ

ฝึกอบรมแบบลงมือทำจริงกับกระบวนการทั้งหมดในการทำให้แบบจำลองทำงานใน MIKE Operations (ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับสร้างระบบอัตโนมัติในการจัดการข้อมูล แบบจำลอง และผลคำนวณ) และดูผลคำนวณได้ผ่านทาง Webpage โดยตรงด้วย MIKE Operation Web 2.0 ซึ่งทำออกมาเป็น Web API กึ่งสำเร็จรูปสำหรับการสร้างเว็บเพจระบบพยากรณ์น้ำด้วยแบบจำลองของ DHI

โดยใช้ตัวอย่าง 2 แบบจำลองที่จะนำเข้าใน MIKE Operations คือ 1) แบบจำลอง MIKE+ 1D River Flood ที่จัดเตรียมไว้แล้วด้วยพื้นที่ตัวอย่างคือแม่น้ำเจ้าพระยาจากบางไทรถึงปากแม่น้ำพร้อมกับจำลองการพังของตลิ่ง 2) แบบจำลอง MIKE 21 FM ที่จำลองการไหลในทะเลแบบ 2 มิติ ด้วยพื้นที่ตัวอย่างอ่าวไทยตอนบน (อ่าวไทยตัว ก.)

การเรียนรู้ในส่วนนี้จะเป็นการต่อยอดนักแบบจำลองด้านน้ำ ที่ไม่จำเป็นต้องอยู่แต่กับโปรแกรมแบบจำลองใน PC ของตนเองอีกต่อไป แต่สามารถเชื่อมโยงข้อมูล แบบจำลอง ผลแบบจำลอง ไปสู่ผู้ใช้งานในรูปแบบของเว็บเพจ ที่ง่ายต่อการเข้าถึง มีความพร้อมใช้งาน สะดวกในทุกสถานการณ์

คู่มือสำหรับการฝึกอบรมนี้ พร้อมไฟล์ตัวอย่าง ผมได้อัพโหลดไว้ให้ทุกท่านสามารถดาวน์โหลด

และทดลองฝึกปฎิบัติ หรือจะใช้เป็นตัวอย่างสำหรับการทำงานโครงการ

Download คู่มือและไฟล์ตัวอย่างการฝึกอบรม (ยกเว้น Installation สามารถดาวน์โหลดได้จากเวบไซด์ของ DHI ได้โดยตรง)

Link ข้างบนเป็น Zip ที่รวมไฟล์ทั้งหมดให้แล้ว

อย่างไรก็ตามสำหรับ Installation แบบจำลองอื่นๆที่ไม่ได้ให้ไว้ข้างต้นให้ download ตรงจาก

Download Center - DHI


 ส่วน Link ด้านล่างกรณีต้องการดูแต่ตัวคู่มือที่เป็น PDF

คู่มือการฝึกอบรม (pdf)


สุดท้ายเป็น License file สำหรับการฝึกอบรม

License File สำหรับการฝึกอบรม (หมดอายุ 9 กค. 2567)

วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

DHI Anual Conference 2024

DHI Annual Conference 2024

ดิจิทัลโซลูชั่นด้านน้ำของประเทศไทยโดยใช้แพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ 'MIKE POWERED BY DHI'

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน 2567




ข้อมูลสมุทรศาสตร์สำหรับการสร้างแบบจำลองการพยากรณ์

ผศ.ดร.ธนัสพงษ์ โภควนิช 

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ 


การศึกษาสภาพทางอุทกพลศาสตร์เพื่อสนับสนุนการคาดการณ์การกระจายตัวอ่อนปูม้าบริเวณอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

นายกฤตภาส สุชาโต 

นักส่งเสริมนวัตกรรม ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

(องค์การมหาชน)


เทคโนโลยีดิจิทัลที่ใช้ในการแก้ปัญหาด้านทะเลและชายฝั่ง ด้วยแบบจำลองคลื่นทั่วโลก

Jesper Dorge ผู้อำนวยการโครงการด้านทะเลและชายฝั่ง DHI



เทคโนโลยีดิจิทัลที่ใช้ในการแก้ปัญหาด้านแหล่งน้ำด้วยแบบจำลองอุทกวิทยาทั่วโลก

Oluf Zeilund Jessen, รองประธานฝ่ายพัฒนาระหว่างประเทศ DHI


การพัฒนาระบบติดตามการเปลี่ยนแปลงสถานะน้ำของประเทศด้วยข้อมูลดาวเทียมสำรวจ

ทรัพยากรโลก

นาย สถิตย์ จันทร์ทิพย์ หัวหน้างานแบบจำลอง ฝ่ายนวัตกรรมสารสนเทศทรัพยากรน้ำ

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ องค์การมหาชน


ระบบพยากรณ์อุทกวิทยาเพื่อสนับสนุนการดำเนินการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำที่ปลอดภัย

ดร. สุรเจตส์ บุญญาอรุณเนตร หัวหน้าวิศวกรอาวุโส บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด มหาชน


ภาพรวมวิวัฒนาการของผลิตภัณฑ์แบบจำลอง MIKE+ 

การฝึกอบรมภาคปฏิบัติ MIKE products (MO, M+, M21FM => Web app)

ดร. สมชาย ชนวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญแบบจำลองประจำ DHI ประเทศไทย


ภาพบรรยากาศในงานสัมมนาและการฝึกอบรม