สำหรับบทความนี้ จะแนะนำการเพิ่มฝายทดน้ำเพื่อการชลประทาน
หรือ ฝายที่มีความจุน้ำไม่มาก และมีจุดประสงค์เพื่อการทดน้ำสำหรับการชลประทานเท่านั้น
โดยไม่ได้ใช้เพื่อการบรรเทาน้ำท่วม
โดยทั่วไป ในแบบจำลอง MIKE Hydro Basin จะมีเพียงโครงสร้างแบบเขื่อนเท่านั้น
ทำให้ไม่สามารถใส่โครงสร้างแบบ ฝาย ลงไปได้
ดังนั้น ในการเพิ่มโครงสร้างฝายเพื่อการทดน้ำ จึงต้องทำผ่านการเพิ่ม เขื่อน ในแบบจำลอง
ตัวอย่างนี้ เป็นการทดลองสร้างลำน้ำแบบง่าย
มี River Node N5 เป็นต้นน้ำ
ใช้ Water User W3 เป็นตัวป้อนน้ำเข้าระบบ
มี Water User W4 เป็นผู้ใช้น้ำ โดยดึงน้ำโดยตรงจากฝาย
มี ฝายที่แทนด้วยเขื่อนคือ R2 ที่มีความจุสูงสุด 16 ล้าน ลบ.ม.
โครงข่ายลำน้ำดังกล่าวสร้างแบบง่ายๆได้ดังรูปนี้
น้ำไหลเข้าทางต้นทาง W3 กำหนดค่าสำหรับทดสอบดังนี้
น้ำที่ดึงออกไปสำหรับการชลประทาน W4 กำหนดค่าคงที่เท่ากับ 8 m3/s
แบบจำลองยังต้องเพิ่มข้อมูลสำหรับเขื่อน ที่ทำหน้าที่แทนฝายทดน้ำ
ประกอบไปด้วย LevelAreaVolume โดยทั่วไปกรณีฝายทดน้ำขนาดเล็ก อาจมีแต่ข้อมูลความจุสูงสุด
สามารถสร้างตารางได้อย่างง่าย โดยสมมุติค่าพื้นที่ผิวน้ำขึ้นมาเองได้เลย เนื่องจากไม่ได้ใช้
ระดับน้ำต่ำสุด : ความจุ = 0
ระดับน้ำสูงสุด : ความจุ = ความจุสูงสุด (16 MCM)
CharacteristicLevel
Bottom Level = ระดับน้ำต่ำสุด
Dead Zone Level = ระดับน้ำต่ำสุด
Crest Level = ระดับน้ำสูงสุด
นอกจากนี้ยังต้องเพิ่มข้อมูล การบริหารเขื่อน
โดยตั้งค่าระดับน้ำเพื่อควบคุมน้ำท่วม ไว้เท่ากับค่าระดับน้ำสูงสุด
อัตราการระบายน้ำต่ำสุด เท่ากับ 0
และสุดท้ายต้องเพิ่มข้อมูลการจัดการน้ำสำหรับผู้ใช้น้ำที่ดึงน้ำจากเขื่อนโดยตรง
โดยเพิ่ม No. of Reduction Level เป็น 1
จะมีช่องกรอกข้อมูล แล้วตั้งค่า Reduction ดังนี้
Reduction Level = ระดับน้ำต่ำสุด (คงที่)
Reduction Factor = 0 (คงที่)
การตั้งค่าดังนี้มีผลให้ ไม่มีการลดปริมาณน้ำในกรณีที่ระดับน้ำลดต่ำกว่าเกณฑ์ (Reduction Level)
เมื่อสร้างแบบจำลองอย่างง่ายเสร็จแล้ว ก็ทดสอบรันแบบจำลอง
โดยในกรณีนี้ เตรียมข้อมูลครบ 1 ปี และหลายๆข้อมูลใช้ค่าคงที่
จึงสามารถรันแบบจำลองได้ หลายปี เพราะโปรแกรมจะเวียนใช้ข้อมูลในปีต่อๆไปได้เอง
ตั้งค่า Simulation Description เป็น WithStorage แล้วสั่งรัน
หลังรันแบบจำลองกรณีมีความจุของฝาย (WithStorage)
หลังจากนั้น
ให้เปลี่ยนแปลงค่า LevelAreaVolume โดยแก้ค่า ความจุสูงสุดให้เหลือ 0 MCM
แล้วแก้ค่า Simulation Description เป็น WithOutStorage เพื่อเป็นกรณีไม่มีฝาย
และสุดท้าย ให้เปลี่ยนแปลงค่า LevelAreaVolume โดยแก้ค่า ความจุสูงสุดให้เป็น 160 MCM
แล้วแก้ค่า Simulation Description เป็น WithBigStorage เพื่อเป็นกรณีมีฝายความจุสูง
เมื่อรันครบ 3 กรณีแล้ว จะสามารถตรวจสอบผลคำนวณการขาดน้ำของ W4 ได้ดังรูป
โดยมีปริมาณน้ำในฝายดังนี้
จากตัวอย่างนี้ อธิบายได้ดังนี้
กรณีที่มีฝายที่มีความจุเดิม พบว่า ความจุของฝายมีขนาดเล็ก และไม่เพียงพอต่อการเก็บน้ำให้พอใช้ตลอดทั้งปี แต่จะพบว่า การขาดน้ำ จะน้อยกว่ากรณีที่ไม่มีฝาย และในกรณีที่ฝายมีความจุมากเพียงพอ จะพบว่าพื้นที่นี้จะมีน้ำใช้อย่างเพียงพอ และไม่เกิดการขาดน้ำเลย
ในกรณีนี้ ได้สมมุติให้ปริมาณน้ำน้ำไหลเข้าสะสมทั้งปี มีค่าเท่ากับปริมาณความต้องการใช้น้ำสะสมทั้งปี
แต่น้ำไหลเข้ามีปริมาณที่ไม่เท่ากัน มากบ้าง น้อยบ้างในแต่ละช่วงเวลาของปี ทำให้มีความจำเป็นต้องการฝายที่มีความจุน้ำระดับหนึ่ง ช่วยกักน้ำในช่วงน้ำมาก เก็บไว้ใช้ในช่วงน้ำน้อย
ใครสนใจตัวอย่างนี้ สามารถโหลด Setup ที่ผมทำเสร็จแล้วได้จาก