วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

งานสัมมนาวิชาการ ในหัวข้อ Mathematical Modeling for Real World Water Management


เป็นการจัดงานสัมมนาร่วมกันระหว่าง DHI และศูนย์วิจัยวิศวกรรมน้ำและโครงสร้างพื้นฐาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
การประชุมสัมมนาวิชาการ ในหัวข้อ Mathematical Modeling for Real World Water Management  ณ หอประชุมเบญจรัตน์ อาคารนวมินทรราชินี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมสัมมนาและผู้ที่สนใจรายละเอียดในงานสัมมนา ทางคณะจัดงานได้รวบรวมเอกสารในงานสัมมนาเท่าที่ได้รับอนุญาติจากผู้บรรยายในงาน นำมาเผยแพร่ดังต่อไปนี้

  1. รายละเอียดการจัดงานสัมมนา
  2. แบบจำลอง DHI ในภาพรวม
  3. แบบจำลองทางชลศาสตร์2 มิติสำหรับงานวิศวกรรมชายฝั่ง และแผนที่น้ำท่วม รวมถึงนวัตกรรมใหม่ๆของแบบจำลอง
  4. แบบจำลองรุ่นใหม่ล่าสุดสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ แก้ปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย
  5. แนวทางปฏิบัติการที่เหมาะสมสำหรับการบริหารจัดการน้ำในสถานการณ์วิกฤติน้ำแล้งและน้ำหลาก
  6. การพัฒนาแบบจำลองคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย (ติดต่อดร. ภาณุวัตน์ ปิ่นทอง โดยตรง เพื่อขอรับเอกสาร)
  7. การวางแผนเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติงานพัฒนาแหล่งน้ำที่เหมาะสมและยั่งยืน (ติดต่อคุณ บุญจง จรัสดำรงนิตย์ โดยตรง เพื่อขอรับเอกสาร)
  8. แนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมบทเรียนจากมหาอุทกภัย 2554
  9. การประยุกต์ใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์เพื่อศึกษาคลื่นสึนามิบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันของไทย
  10. การนำเสนอผลจากโครงการพัฒนาระบบแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์การไหลในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและเชื่อมโยงข้อมูลอัตโนมัติภายใต้โครงการพัฒนาการใช้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์การไหลของน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาผ่านเว็บไซด์


ส่วนต่อไปเป็นรูปภาพต่างๆจากงานสัมมนาครั้งนี้

 
พิธีกรดำเนินการประชุมโดย นางสาว วราภรณ์ บูรณะอัตม์


ดร. ภาณุวัฒน์ ปิ่นทอง หัวหน้าศูนย์วิจัยวิศวกรรมน้ำและโครงสร้างพื้นฐาน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือขึ้นกล่าวรายงาน ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการ


คณบดี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนาฤทธิ์ เศรษฐกุล กล่าวเปิด และปาฐกถาพิเศษ


ดร. สมชาย ชนวัฒนาผู้เชี่ยวชาญการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ชลพลศาสตร์ของน้ำทั้งแบบ 1 มิติ และ 2 มิติ บรรยายในหัวข้อ “แบบจำลอง DHI ในภาพรวม”


Mr. Niels Hvam ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านชลศาสตร์สิ่งแวดล้อมทางทะเล ชายฝั่ง และแม่น้ำ บรรยายในหัวข้อ “แบบจำลองทางชลศาสตร์ 2 มิติ สำหรับงานวิศวกรรมชายฝั่ง และแผนที่น้ำท่วม รวมถึงนวัตกรรมใหม่ๆของแบบจำลอง”


Mr. Torben Strang Jensen ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจแบบจำลองด้านแหล่งน้ำของ DHI และเป็นผู้อำนวยการ ศูนย์ประสานงาน DHI ประจำประเทศไทย บรรยายในหัวข้อ “แบบจำลองรุ่นใหม่ล่าสุด สำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ แก้ปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย”


คุณบุญทรง ปีตานนท์ชัย วิศวกรระดับ 11  ฝ่ายสำรวจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บรรยายในหัวข้อ “แนวทางปฏิบัติการที่เหมาะสมสำหรับการบริหารจัดการน้ำในสถานการณ์วิกฤติน้ำแล้งและน้ำหลาก”


ดร. ภาณุวัฒน์ ปิ่นทอง หัวหน้าศูนย์วิจัยวิศวกรรมน้ำและโครงสร้างพื้นฐาน (CWEIR) และอาจารย์ประจำภาควิชาครุศาสตร์โยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ บรรยายในหัวข้อ “การพัฒนาแบบจำลองคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย”


คุณ บุญจง จรัสดำรงนิตย์ ผู้อำนวยการ สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ บรรยายในหัวข้อ “การวางแผนเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติงานพัฒนาแหล่งน้ำที่เหมาะสมและยั่งยืน”


คุณ สนั่น ศิริอ่อน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมและการออกแบบโครงสร้าง บรรยายในหัวข้อ “แนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วม บทเรียนจากมหาอุทกภัย 2554”


คุณกิตติพงษ์ ธนาศิริยะกุล ผู้จัดการฝ่ายท่าเรือและทางทะเล บริษัท เอทีที คอนซัลแตนท์ จำกัด บรรยายในหัวข้อ “การประยุกต์ใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์เพื่อศึกษาคลื่นสึนามิบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันของไทย”


คุณสถิตย์ จันทร์ทิพย์ ผู้ช่วยนักวิจัยฝ่ายสารสนเทศทรัพยากรน้ำ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) บรรยายในหัวข้อ “การนำเสนอผลจากโครงการพัฒนาระบบแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์การไหลในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและเชื่อมโยงข้อมูลอัตโนมัติภายใต้โครงการพัฒนาการใช้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์การไหลของน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ผ่านเว็บไซด์”


ภาพหมู่ผู้เข้าร่วมสัมมนาบางส่วนในวันที่ 27 มิถุนายน 2556


บรรยากาศการลงทะเบียน


ภาพรวมในห้องบรรยายวันที่ 27 มิย. 2556


มอบของที่ระลึกแสดงความขอบคุณผู้มาบรรยาย (รูปบางส่วน) 


ภาพรวมบรรยากาศในห้องฝึกอบรม แบบจำลอง MIKE HYDRO BASIN ในวันที่ 28 มิย. 2556


ภาพรวมบรรยากาศในห้องฝึกอบรม แบบจำลอง MIKE 21 ในวันที่ 28 มิย. 2556